ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

รักษาโรคด้วย “มะละกอ”

“มะละกอ” นอกจากจะนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังสามารถนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งยังนำไปทำเป็นยาช่วยย่อย สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้ และยังมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทความก่อนๆ แต่สำหรับบทความนี้ ขอแนะนำสรรพคุณทางยาที่มีอยู่ในมะละกอ ที่มีมากมาย จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยเลยก็ว่าได้ มีรายละเอียดดังนี้ครับ
รักษาโรคด้วย "มะละกอ"
สรรพคุณทางยาของมะละกอ

- รากมะละกอ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
- เปลือกมะละกอ ใช้ทำน้ำยาขัดรองเท้าได้
- ผลสุกของมะละกอ มีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และใช้เป็นยาระบายได้
- ยางจากผลดิบ ใช้เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน และใช้เป็นยาฆ่าพยาธิได้

“มะละกอ” ใช้รักษาอาการต่างๆ ดังนี้

เป็นยาระบาย ให้ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้ของว่าง
เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ให้ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัดปริมาณไปประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง หรือใช้เป็นผักจิ้มก็ได้
ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ให้รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำ เพราะมะละกอจัดว่าเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูง
รักษาอาการเท้าบวม เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวม จะลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก ให้ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอกเอาไว้จะช่วยบรรเทาอาการได้
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน ให้บ่งปากแผลเปิดออก จากนั้นเอายางมะละกอดิบใส่ หนามจะหลุดออก หรือหากคันเพราะพิษของหอยคัน ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
รักษาอาการปวดตามร่างกาย ให้รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ หรือหากปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ให้ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วม ดองไว้ 7 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อได้ หากจะใช้ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบก็ได้
สำหรับแผลน้ำร้อนลวก หรือแผลพุพอง ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล โดยเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง หรือหากเป็นแผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปื่อย ตำพอกที่แผล สำหรับแผลพุพองให้ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง อาการเหล่านี้ก็จะหายไป
เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ อาการผื่นคันก็จะหายไป หรือหากเป็นโรคกลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปื่อย ให้ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้ง จะสามารถฆ่าเชื้อราและจะหายจากโรคผิวหนังดังกล่าวได้ครับ

แหล่งอ้างอิง
- http://www.philippineherbalmedicine.org/papaya.htm

- http://yathai.blogspot.com/2010/09/blog-post_10.html

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน