ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย


เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ

ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ 

คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้

***เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้

เพศมะละกอ

1.มะละกอต้นตัวผู้  

มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด  ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง

ดอกมะละกอตัวผู้

2. มะละกอต้นตัวเมีย 

จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปานกลาง 5-20 เซนติเมตร ดูจากภายนอกดอกยังตูมอยู่จะมีลักษณะดอกป้อม กลีบดอกทั้ง 5 กลีบ จะแยกจากกัน ภายในมีรังไข่ อ้วนสั้น สีขาว มีส่วนปลายรังไข่เป็นแฉก 5 แฉก สีเหลืองอมเขียว แต่ละแฉกก็มีปลายเป็นฝอย ผลจากดอกตัวเมียจะมีรูปร่างกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ หรือรูปไข่

ดอกมะละกอตัวเมีย
3. มะละกอต้นสมบูรณ์เพศ (ต้นกะเทย)  

ช่อดอกแตกแขนงสั้น อาจจะประกอบด้วยดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศในช่อดอกเดียวกันก็ได้ แต่ดอกสมบูรณ์เพศก่อนบานจะมีลักษณะเรียวยาว กลีบดอกส่วนที่เป็นหลอดจะหุ้มส่วนของรังไข่ ส่วนกลีบดอกที่แยกกันจะเปิดออกเมื่อดอกบาน ถ้าเด็ดกลีบดอกออกจะเห็นอับเกสรตัวผู้ 10 อัน เรียงรอบใต้ส่วนของยอดเกสรตัวเมีย เมื่อละอองเกสรตัวผู้ฟุ้งกระจาย ขณะดอกบานก็จะผสมตัวเองได้หรือแมลงพาเกสรตัวผู้ไปผสมกับดอกที่บานดอกอื่น หรือดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ทำให้ติดเป็นผล ผลจากมะละกอต้นสมบูรณ์เพศจะเป็นรูปทรงกระบอกยาว ถ้าดอกสมบูรณ์เพศนั้นมีรังไข่ทรงกระบอกและอับเกสรตัวผู้เกิดบริเวณโคนกลีบดอก เรียกดอกประเภทนี้ว่าอีลองกาต้า (Elongata) ดอกสมบูรณ์เพศที่มีรังไข่เป็นพลูและมีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่ที่โคนรังไข่ เป็นดอกแบบแพนเดรีย (Pentandria) ทำให้ได้ผลเป็นพลูแบบผลทุเรียน ตลาดไม่ต้องการ ควรเด็ดทิ้งขณะผลเล็กๆ ดอกสมบูรณ์เพศแบบอินเทอร์มีเดียท (Intermediate)คือ ดอกสมบูรณ์เพศที่มีก้านชูอับเกสรตัวผู้อยู่บริเวณรังไข่ด้านใดด้านหนึ่ง ตรงกลางของรังไข่เมื่อผสมติดแล้วทำให้ผลมีแผลเป็น เบี้ยวด้านหนึ่ง ตลาดไม่ต้องการถ้าพบผลแบบนี้ขณะอ่อน ๆ อยู่ให้เด็ดทิ้ง

ดอกมะละกอสมบูรณ์เพศ (กระเทย)

ยีนส์ที่ควบคุมและกำหนดเพศมะละกอมีดังนี้ 

Mm คือมะละกอเพศเมีย
M1m คือมะละกอเพศผู้
M2m คือมะละกอสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย)
M1M1, M2M2, M1M2 เกิดลีทอลยีน(Letthlgene) ไม่มีเมล็ด

แม่พันธุ์ x พ่อพันธุ์ อัตราส่วนของลูก
เพศเมีย :สมบูรณ์ : เพศผู้
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นเพศผู้ (M1m) 1 : - : 1
ต้นเพศเมีย (mm) x ต้นสมบูรณ์เพศ (M2M) 1 : 1 : -
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x เพศผู้ (M1m) 1 : 1 : 1
ต้นสมบูรณ์เพศ (M2m) x สมบูรณ์เพศ (M2m) 1 : 2 : -

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน