ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2014

6 ขั้นตอนเพาะเมล็ดมะละกอให้งอก 100 %

เทคนิคเพาะเมล็ดมะละกอด้วยวิธีง่ายๆ เพาะเมล็ดมะละกอ ในฐานะที่ผมเป็นคนชอบกินมะละกอ ไม่ว่าจะนำไปทำเป็นส้มตำ แกงส้ม หรือมะละกอสุก ก็ต้องปลูกติดบ้านไว้สักหน่อยครับ แค่ 10 กว่าต้น ปีหน้าคิดว่าจะปลูกมะละกอฮอร์นแลนด์ในเชิงธุรกิจ ก็เลยต้องศึกษาหาความรู้เอาไว้ก่อน แต่ถึงจะศึกษามามากมายขนาดไหน .. อย่างไร ก็สู้เราทดลองทำเองกับไม่ได้ .. จริงไหมครับ และในความรู้เรื่องการเพาะเม็ดมะละกอให้งอก 100 % ที่บอกไว้ข้างต้นนี้ ผมได้ทดลองทำแล้วครับ ก็เป็นที่น่าพอใจ จึงต้องแบ่งปันความรู้ให้เกษตรกรท่านอื่นบ้าง ดังนี้ครับ 6 ขั้นตอนการเพาะเม็ดมะละกอ มีดังนี้ 1. เตรียมถุงเพาะชำ ( ถุงดำขนาด 2 x 6 นิ้ว ) แบบมีช่องระบายน้ำ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ หรือร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป 2. ใช้ดินร่วน 4 ส่วน ผสมแกลบขาว ( ผสมเปลือกถั่ว หรือใบก้ามปูสับ ) 6 ส่วน หากเพาะเม็ดมะละกอหน้าฝน ถ้าต้องการให้การระบายน้ำดี ควรใช้ดิน 3 ส่วน แกลบ 7 ส่วน ผสมให้เข้ากัน 3. กรอกดินที่เตรียมไว้ใส่ถุงเพาะชำ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ควรเรียงถุงเพาะเม็ดมะละกอไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนฝน และไม่ควรให้โดนแสงแด

โรคของมะละกอที่ควรรู้

รู้ทันโรคของมะละกอ และการป้องกัน โรคมะละกอ สิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมะละกออย่างหนึ่ง ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง นั่นก็คือโรคของมะละกอ การแก้ไขเยียวยามะละกอที่เกิดโรค ตลอดถึงการป้องกันไม่ให้เกิดโรคในมะละกอ และนี่ก็เป็นอีกบทความดีๆ มีสาระที่ผมได้ค้นคว้าหาข้อมูลมาฝากกันครับ โรคสำคัญของมะละกอที่ควรรู้ 1 . โรคใบจุดวงแหวน ( Papaya Ring Spot Virus) มะละกอที่เป็นโรคนี้ ผลของมะละกอจะมีจุดคล้ายวงแหวน โดยมีอาการใบด่างเหลืองสลับเขียว โดยเฉพาะใบที่อยู่ส่วนบนของยอดของมะละกอ ใบอ่อนที่เกิดใหม่จะค่อยๆ เล็กลง ผิวของมะละกอที่เกิดโรค จะเห็นลักษณะวงแหวนขนาดต่างๆ กัน เรียงเป็นวงเห็นได้อย่างชัดเจน สาเหตุที่มะละกอเป็นโรคนี้ เกิดจากไวรัส PRSV แนวทางป้องกัน ขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอ ปลูกพันธุ์มะละกอที่ต้านทานต่อโรค และควรทำลายต้นที่แสดงอาการของโรครุนแรง เพื่อป้องกันการลุกลาม หรือการระบาดไปต้นอื่น 2 . โรคแอนแทรคโนส ( Anthracnose) มะละกอที่เป็นโรคนี้ จะมีลักษณะเป็นแผลรูปกลมเริ่มจากจุดเล็ก ๆ แล้วขยายใหญ่ขึ้น มะละกอจะมีแผลเป็นรอยบุ๋มลงไป ต่อมาบริเวณกลางแผลจะเ