ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2011

วิธีง่ายๆ ทำให้เส้นมะละกอ กรอบ อร่อย

มะละกอ วิธีง่ายๆ กับการทำให้เส้นมะละกอกรอบ อร่อย สำหรับนำมาทำส้มตำ เมื่อ พูดถึงส้มตำแล้ว คงไม่มีใครรู้จักนะครับ ในการเลือกมะละกอสำหรับทำส้มตำ ควรเลือกมะละกอลูกที่ไม่ค่อยแก่ หรือมะละกอหนุ่ม เพื่อให้ได้เส้นมะละกอที่กรอบอร่อย สำหรับมะละกอที่เราสับเองกับมือ มันกับมีเส้นที่ไม่ค่อยนิ่ม เวลาตำแล้วก็รับประทานไม่ค่อยอร่อย เหมือนกับที่ซื้อจากเจ้าประจำหน้าปากซอยเลยนะครับ ทั้งเส้นกรอบ รสชาติอร่อย จะว่าเป็นที่สับเส้นมะละกอ ก็ไม่ใช่ หรือตำนานไปหน่อยก็ไม่เชิงอีกนั่นแหละ  วันนี้ก็เลยขอแนะนำการทำเส้นมะละกอให้กรอบ อร่อย เหมือนที่ซื้อจากปากซอย สำหรับคนชอบทานส้มตำครับ   ก่อน อื่นเลยครับหยิบมะนาวขึ้นหนึ่งลูก หรือจะใช้เปลือกมะนาว ที่เราบีบเอาน้ำออกแล้ว เพื่อเตรียมสำหรับปรุงรสส้มตำก็ได้ครับ เอามะละกอที่สับเสร็จเรียบร้อยแล้วใส่ลงในถ้วย เสร็จแล้วเทน้ำเปล่าใส่ลงพอท่วมเส้นมะละกอ ตามด้วยเปลือกมะนาวที่เตรียมไว้ หากกลัวเปลือกไม่พอ ก็ให้บีบน้ำมะนาวตามลงไปอีกหน่อย ขยำเบาๆ ย้ำด้วยนะครับ..เบาๆ แล้วแช่ทิ้งไว้สักครู่ ประมาณ 2 - 3 นาที เพียงแค่นี้เราก็จะได้เส้นมะละกอสำหรับทำส้มตำที่กรอบ อร่อยแล

การใช้ใบมะละกอกำจัดเพลี้ยแป้ง

ใช้ใบมะละกอช่วยกำจัดเพลี้ยแป้ง ใช้ใบมะละกอช่วยกำจัดเพลี้ยแป้ง ประโชน์ของมะละกอ เพลี้ยแป้ง กลายเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญหลายชนิด ทั้งพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล เมื่อเข้าทำลายแล้วย่อมเกิดความเสียหายต่อผลผลิตอย่างแน่นอน และยากที่จะกำจัดให้กมดไปได้ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีในครั้งเดียว เนื่องจากมีไขเคลือบตัวไว้หนา และยังมีมดเป็นพาหะที่สำคัญ จึงพบว่าเมื่อกำจัดไปได้ไม่นาน มเพลี้ยแป้งก็จะกลับมาทำลายพืชผลให้ได้รับความเสียหายอยู่ร่ำไป ซึ่งปัญหานี้สำหรับคุณบุญล้อม เฉิดไธสงค์ เกษตกร บ้านห้วยค้อ ต.หนองแวงนาเป้า อ.พล จ.ขอนแก่น ได้มีการคิดค้นสูตรสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบมะละกเป็นหลัก และมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นมาใช้กำจัดเพลี้ยแป้ง ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงอยากเผยแพร่สูตรดังกล่าวไว้ ณ ที่นี้ ส่วนผสม และวัสดุอุปกรณ์ 1. ใบมะละกอสด 5 ก.ก. 2. ยาฉุน 2 ขีด 3. น้ำหมัก EM สูตรสมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ 4. น้ำเปล่า 5 ลิตร 5. ถุงมือแพทย์ วิธีการทำ นำเอาใบมะละกอสด มาขยี้คั้นเอาแต่น้ำ ผสมยาฉุนขยี้และกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำหมัก EM สูตรสมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน วิธีการนำไปใช้

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

สรรพคุณทางยาของมะละกอ ประโยชน์ของมะละกอ ยางจากใบมะละกอหรือผล   จะมีน้ำย่อยปาปะอิน ( papain) หรือ ที่เรียกว่า ปาปะโยทิน ( papayotin) ในส่วนของใบยังมีไกลโคไซด์ ชื่อ carposide และ อัลคาลอยด์ capaine ส่วนผลดิบจะมีสาร petin แต่เมื่อสุกจะมีสาร carotenoid และมีสาร benzyl isothiocyanate ในเมล็ด สรรพคุณทางยาสมุนไพรที่มีในมะละกอ ยางมะละกอ  ใช้ยาง 5-6 หยด ทาบริเวณที่เป็นหูด วันละ 3-5 ครั้ง แต่ต้องระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณอื่น ยางสดจากใบหรือผลของมะละกอ  นำมาทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มด ตะขาบ วันละบ่อยครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมจนกระทั่งหายได้ เมล็ดแก่ของมะละกอ  ใช้เมล็ดแก่ จำนวน 1-2 ช้อนชา ม ผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปคั่วพอให้บดได้ง่าย แล้วนำไปบดให้ละเอียด เติมน้ำผึ้ง หรือ น้ำเชื่อมลงไปพอประมาณคนให้เข้ากัน ทานติดต่อกัน 2-3 วัน จะช่วยถ่ายพยาธิได้ ผลสุกของมะละกอ  ทานเป็นผลไม้เป็นยาระบายอ่อนๆ ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด มะละกอผลดิบ  ใช้ทำเป็นอาหาร จะช่วยย่อยโปรตีนเพราะมีสารช่วยย่อย ( papain) รากมะละกอสด  ใช้รากสด 3- 6 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ) ล

ถิ่นกำเนิดของ มะละกอ

ถิ่นกำเนิดของ มะละกอ ชื่อ : มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya l.inn. ชื่อวงศ์ : Caricaceae ชื่อท้องถิ่น : มะก๊วยเต๊ด ก๊วดเทด มะก้วยเทศ หมากซางพอ(เหนือ) , บักหุ่ง (อีสาน) , แตงต้น(สตูล) , ลอกอ ก้วยลามะเต๊ะ(ใต้) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ลำตันตั้งตรงสูง 3 – 6 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวงไม่มีแก่น ผิวขรุขระเป็นร่องตามยาวต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเป็นหยักเว้าลึกคล้ายฝ่ามือ ดอก มีหลายประเภท คือ ดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และ ดอกสมบูรณ์เพศ โดยดอกตัวผู้จะมีสีเหลืองนวลหรือสีนวล กลิ่นหอม ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศ จะออกมาเป็นกระจุก หรือ ดอกเดี่ยวสีนวล ผล มีทั้งผลกลม ผลรี แตกต่างกันไปตามสายพันธ์ ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว เมื่อผลแก่หรือสุกจะมีสีเหลืองส้ม เนื้อในอ่อนนุ่ม น้ำ เมล็ดมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม การเพาะปลูก มะละกอ   ปลูกได้ทุกภาค ชอบดินร่วนปนทราย น้ำไม่ขัง ต้องการแดดจัด ชอบความชุ่มชื้น ถิ่นกำเนิด : รัฐฮาวาย การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แหล่งที่พบ : บริเวณเขตอบอุ่นและเขตร้อน

ปลูกมะละกอ พันธุ์ฮอนแลนด์

การปลูกและการดูแลรักษามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ มะละกอฮอนแลนด์ มะละกอฮอนแลนด์ มะละกอเป็นผลไม้ยืนต้น ที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งมะละกอดิบเมนูที่นิยมกันมากก็คือ ส้มตำ ส่วนมะละกอสุก ก็สามารถนำไปรับประทานสดเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปในลักษณะต่างๆ ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของการปลูกมะละกอนั้นสามารถทำได้แต่ต้องใช้ความอดทนและการเรียนรู้ตลอด อย่างเช่น คุณสมศักดิ์ ม่วงพานิช เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์และพันธุ์แขกดำ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี ซึ่งมีรายละเอียดการปลูกและการดูแล ดังนี้ การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ : นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน วิธีการเพาะเมล็ดมะละกอฮอนแลนด์ 1. นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำ 3 คืน โดยเปลี่ยนน้ำที่แช่บ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง 2. นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยให้ใส่ 3-4 เมล็ด/ถุง 3. รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 9-10 วัน เมล็ดก็จะงอก 4. ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ  1. ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถ