ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเตรียมเมล็ดพันธุ์มะละกอที่ดี ก่อนนำไปเพาะปลูก


การเตรียมเมล็ดมะละกอก่อนนำไปเพาะปลูก

เตรียม "เมล็ดพันธุ์มะละกอ"

เมื่อผลแก่เมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีดำและจะหลบคมมีดได้ การเอาเมล็ดที่อยู่ในผลที่แก่ไปเพาะทันทีจะมีอัตราการงอกของเมล็ดต่ำ เพราะเยื่อหุ้มเมล็ดชั้นนอกมีสารยับยั้งการงอกอยู่ การที่จะทำให้มีการงอกสูงขึ้นทำได้โดย เอามือขยี้เปลือกหุ้มเมล็ดออกให้หมด หรือเอาเมล็ดที่รวบรวมจากผลใส่ในถ้วยหรือกะละมังใส่น้ำให้ท่วมเมล็ดทิ้งไว้ 48 ชั่วโมง เยื่อเมล็ดจะเน่าหลุดง่าย เอามือขยี้เยื่อหุ้มเมล็ดออกแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วนำเมล็ดคลุกยาป้องกันเชื้อราให้ทั่ว นำไปเพาะได้ทันทีหรือถ้าจะเก็บรักษาเมล็ดไว้ให้นาน ก็เอาเมล็ดคลุกยาป้องกันราให้ทั่วแล้วใส่ในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น นำไปเก็บไว้ในที่เย็น เช่น ช่องผักของตู้เย็น เป็นต้น

การเตรียมต้นกล้ามะละกอก่อนปลูก

มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลในชั้นแรกมากในพื้นที่ๆ กว้างขวาง เพราะต้นกล้าที่งอกใหม่ ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อน แล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง 

การเตรียมต้นกล้ามะละกอ มี 2 แบบ คือ

1. เพาะเมล็ดลงถุง 

การเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรงนั้น เป็นวิธีที่สะดวก สามารถทำได้โดยการเตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง(อัตราส่วนดินผสม : ดิน 3 ส่วน+อินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันปุ๋ยคอก) ปุ๋ยคอกควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้วและไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เป็นเศษหญ้าสับ แกลบหรือเปลือกถั่วก็ได้ แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น    นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 2 x 6 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำเรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน หลังจากนั้นฝังเมล็ดลงไปใต้ดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตรถุงละ 3 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้าเย็น เมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 10-14 วัน หลังปลูกเมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าที่แข็งแรงเอาไว้ ถอนต้นที่อ่อนแอออก

ข้อควรรู้

ในการเพาะเมล็ดนี้ ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดราพวกแมนโคเซบ ผสมยาป้องกันแมลงประเภทคาร์บาริลและยาจับใบฉีดพ่นครั้งแรกเมื่อต้นกล้าเริ่มงอกและหลังจากนั้นฉีดพ่นทุก ๆ 10 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก ซึ่งจะสามารถย้ายกล้าปลูกเมื่อเพาะเมล็ดได้ 45-60 วัน และหลังจากถอนแยกต้นกล้าเหลือต้นเดียวหรือสองต้นแล้ว อาจสามารถเร่งให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น โดยให้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ที่มีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วยโดยใช้ปุ๋ยอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร และผสมยาจับใบฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน

2. เพาะเมล็ดลงแปลงเพาะแล้วย้ายลงถุง

เตรียมแปลงเพราะกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 3-5 เมตร ให้ความยาวแปลงอยู่ในแนวดินเหนือใต้ย่อยดินให้ละเอียดและผสมปุ๋ยคอก ประมาณตารางเมตรละ 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าปุ๋ยคอกกับดินแล้วย่อยให้เข้ากัน ยกเป็นรูปแปลงสูงจากระดับดินเดิม 15 เซนติเมตร แล้วใช้ไม้ขีดทำร่องแถว ตามความกว้างของแปลงลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ให้แถวห่างกัน 25 เซนติเมตร จากนั้นโรยเมล็ดมะละกอในร่องแถวให้ห่างกันพอประมาณตลอดแปลง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ผสมด้วยยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันมดคาบเมล็ด อาจใช้เซฟวิน 85 หรือ S-85 ก็ได้และรดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น เมื่อต้นกล้ามีใบจริงได้ 2-3 ใบ หรือประมาณ 21-25 วัน หลังจากเพาะให้ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกขนาด 2x6 นิ้ว ถุงละ 1 ต้น ตั้งเรียงไว้ในที่มีแสง 50% ฉีดพ่นยาป้องกันโรคแมลงและให้ปุ๋ยเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดลงถุงโดยตรง
การเพาะเมล็ดลงกระบะพลาสติก ก็ปฏิบัติคล้าย ๆ กัน โดยเอากระดาษหนังสือพิมพ์รองก้นตะกร้าพลาสติก แล้วใส่ดินผสมเช่นเดียวกับที่เตรียมสำหรับเพาะในถุงลงไปเกลี่ยหน้าดินให้เรียบ ทำร่องแถวเพราะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วนำเมล็ดมะละกอหยอดลงไป รดน้ำซึ่งผสมน้ำยากันมดให้ชุ่ม รดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น เมื่อกล้ามีใบจริงแล้วจึงย้ายลงถุงต่อไป และเมื่อต้นกล้าในถุงแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกได้ ระยะเวลานับตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงย้ายกล้าลงปลูกในแปลงใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเพาะกล้ามะละกออยู่ในช่วงกลางเดือนมกราคม สามารถย้ายกล้าปลูกได้ในราวกลางเดือนมีนาคม และจะเริ่มเก็บผลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลไม้ชนิดอื่น ๆ ในท้องตลาดออกน้อยทำให้จำหน่ายได้ราคาสูง

การเลือกพื้นที่ปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วนหรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำที่ดี มีอินทรียวัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขังและควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (PH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงพื้นที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมไว้โดยรอบ ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาว และกลุ่มใบจะมีมากที่บริเวณยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ  ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 4 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร แหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผิวมะละกอบางทำให้เกิดการบอบช้ำในการขนส่งได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

1.ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ครั้งแรกไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4 ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7

2.วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร

3.ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 เซนติเมตร และขุดลึก 50 เซนติเมตร เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก

4.ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ ประมาณ 1 พลั่ว หรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมาและใส่ร๊อกฟอสเฟตลงไปอีก 100 กรัม ถ้าไม่มีร๊อกฟอสเฟตให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่แทนจำนวน 20 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม

5. ก่อนปลูกหาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่ง 0.00, 0.50 และ 1 เมตร เป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน