หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง
และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว
โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง
จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง
(3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x
2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม)
อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน
ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย
ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ
จะมี 3 เพศคือ
1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต
2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา
เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี
บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาก็แล้วกันนะครับ..เริ่มจาก
ดอกมะละกอที่เกิดจากต้นตัวผู้ |
1. ช่อดอกมะละกอที่เกิดจากต้นตัวผู้
จะมีลักษณะเป็นสายยาวๆเหมือนในภาพ
ซึ่งช่อดอกในลักษณะนี้จะไม่ให้ผลผลิตครับ ส่วนใหญ่มักจะตัดทิ้งกัน
ดอกมะละกอที่เกิดจากต้นตัวเมีย |
2. ช่อดอกมะละกอที่เกิดจากต้นตัวเมีย
จะมีลักษณะบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย
ถ้าแกะกลีบดอกดูถายในจะเห็นคล้ายผลเล็กๆ ตรงปลายจะมีเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว
ต้องอาศัยเกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสม ซึ่งก็จะให้ผลเหมือนกัน
แต่ผลที่ได้จะเป็นผลกลมกลวง เนื้อบาง ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเท่าไรนัก
ขายได้ราคาต่ำ
ดอกมะละกอที่เกิดจากต้นสมบูรณ์เพศ (ต้นกะเทย) |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น