ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

6 ลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของมะละกอฮอลแลนด์

มาดู 6 ลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของมะละกอฮอลแลนด์

มะละกอฮอลแลนด์ (Holland Papaya) หรือที่รู้จักในชื่อดั้งเดิมว่า “ปลักไม้ลาย” (Carica papaya ) เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เพราะปลูกง่าย เติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยังเหมาะกับสภาพอากาศและสภาพดินในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะดินร่วนปนทรายที่มีความชื้นเหมาะสม
มะละกอฮอนแลนด์ ถือเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ด้วยรสชาติหวานอร่อย เนื้อแน่น ไม่เละ ทำให้เป็นที่ต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานกว่า 5 ปี เลยทีเดียว! ในบทความนี้ผมจะมาบอกถึง 6 ลักษณะเด่น ที่เป็นเอกลักษณ์ของมะละกอฮอนแลนด์ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สำคัญที่ทำให้มะละกอชนิดนี้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้ครับ


ลำต้นมีจุดสีแดงเลือดหมู

1. ลำต้นมีจุดสีแดงเลือดหมู : คือลำต้นช่วงโคนถึงประมาณกลางลำต้นจะมีแถบสีแดงเลือดหมู ซึ่งจะเห็นได้ชัดตามข้อรอยต่อของก้านใบ และจะมีจุดเล็กๆตามลำต้น


ก้านใบงอโค้งขึ้นบน

2. ก้านใบยาวโค้งขึ้นด้านบน : ลักษณะก้านใบของ มะละกอฮอลแลนด์ จะยาว โค้งงอขึ้นด้านบน

ใบมี 11 แฉก

3. ใบลักษณะประมาณ 11 แฉก : ลักษณะใบของ มะละกอฮอลแลนด์ เมื่อสมบูรณ์เต็มที่จะนับได้ประมาณ 11 แฉก พอดี แต่ช่วงที่เป็นต้นกล้าเล็ก อาจเริ่มตั้งแต่ 5 - 9 แฉก ไปจนครบ 11 แฉก

กลางใบมียอดกระโดง

4. กลางใบมียอดกระโดง หรือยอดธง : กลางใบของ มะละกอฮอลแลนด์ จะมียอดหรือใบกระโดง หรือบางครั้งอาจเรียกว่าใบธง ตั้งขึ้นอย่างเด่นชัด

ออกดอกเป็นช่อ ติดผลดก

5. ออกดอกเป็นช่อ ติดผลดก : มะละกอฮอลแลนด์เป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ แต่ละต้นจะมีดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกที่ออกจากต้นกะเทย หรือต้นสมบูรณ์เพศ เมื่อปลูกไปประมาณ 3 เดือน เกษตรผู้ปลูกควรทำการแยกเพศให้เหลือเฉพาะต้นกะเทยเท่านั้น เพราะจะให้ผลรูปทรงสวย เนื้อหนา ได้น้ำหนัก เป็นที่ต้องการของตลาดนั่นเอง
 
มะละกอฮอนแลนด์ ผลคล้ายฟักแฟง

6. ผลทรงกระบอกเหมือนแฟง : ลักษณะเด่นของ มะละกอฮอลแลนด์ อีกอย่างคือจะมีหัวท้ายเท่ากัน ส่วนหัวโค้งมน โดยเฉพาะผลทรง A ที่เกิดจากต้นกะเทย หรือต้นสมบูรณ์เพศ ต้นมะละกอที่ได้ผลผลิตในลักษณะนี้จะเป็นต้นที่สมบูรณ์มีธาตุอาหารครบทั้งแคลเซียมโบรอน แต่ที่สวนผมเน้นทำเกษตรแบบชีวภาพกึ่งเคมี ผลผลิตที่เห็นจึงมีทั้งเกรด A – B – C ปนกันไป แต่ผลที่คัดเมล็ดจะเลือกเฉพาะผลเกรด A เท่านั้นนะครับ.

💗บทความที่น่าสนใจ 👉 " 10 ประโยชน์ดีๆ ที่มีในมะละกอ"

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ