ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กำจัดโรคไวรัสวงแหวนในมะละกอด้วยสมุนไพรบอระเพ็ด..ได้ผลจริง

กำจัดโรคไวรัสวงแหวนในมะละกอด้วยสมุนไพรบอระเพ็ด..ได้ผลจริง เคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

เล่าให้ฟังจากประสบการณ์ตรงเมื่อหลายปีก่อน ผมเคยปลูกมะละกอฮอลแลนด์เชิงพาณิชย์ ช่วงปีแรกๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ ผลผลิตออกมาดี ขายได้ราคาดี แต่พอเข้าสู่ปีที่สอง ปัญหาก็เริ่มเกิดขึ้น เมื่อมะละกอในสวนของผมเริ่มเป็น "โรคไวรัสวงแหวน" (Papaya Ring Spot Virus - PRSV) โรคนี้ทำให้มะละกอใบเหลือง มีจุดวงแหวนบนผล ทำให้ผลผลิตในสวนเสียหายทั้งหมด สุดท้ายต้องรื้อทิ้งทั้งสวน ความเสียหายครั้งนั้นทำให้ผมต้องหันกลับมาศึกษาและค้นคว้าหาวิธีแก้ไขอย่างจริงจัง

โรคมะละกอ

ทำความรู้จักกับโรคไวรัสวงแหวนในมะละกอ

โรคไวรัสวงแหวน (PRSV) เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอ แทบทุกสายพันธุ์โดยเฉพาะสายพันธุ์ฮอลแลนด์ ซึ่งไวรัสนี้จะแพร่กระจายผ่านแมลงหวี่ขาว หรือแม้กระทั่งการใช้เครื่องมือที่ปนเปื้อน เช่น กรรไกรตัดแต่งกิ่งที่ไม่สะอาด อาการของโรคมักแสดงออกเป็นจุดวงแหวนบนผล ใบเหลือง และต้นแคระแกร็น ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก

การค้นพบ "บอระเพ็ด" สมุนไพรไทยที่ช่วยแก้ปัญหา

หลังจากลองผิดลองถูกและหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ผมได้เจอกับข้อมูลที่บอกว่า บอระเพ็ด สมุนไพรไทยที่มีรสขม สามารถช่วยควบคุมและป้องกันโรคไวรัสในพืชได้ ผมจึงตัดสินใจทดลองใช้สมุนไพรชนิดนี้ในการแก้ปัญหาในสวนของตัวเอง

ตอนนั้นผมเริ่มจากการเตรียมบอระเพ็ดสดประมาณ 5 กิโลกรัม และกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม จากนั้นนำบอระเพ็ดมาบดหรือตำให้ละเอียด เพื่อให้สารสำคัญออกมาได้ง่าย ผสมบอระเพ็ดกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน 5:1 แล้วเติมน้ำสะอาดลงไปอีก 5ส่วน ผสมลงในถังพลาสติกที่มีฝาปิด หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ระหว่างรอ ผมก็คอยสังเกตดูจะเห็นราที่เป็นฝ้าสีขาวๆบางๆเกิดขึ้นที่ผิวน้ำหมัก พอครบเดือนก็กรองเอาเฉพาะน้ำ แล้วนำไปผสมน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1:10 (สารสกัด 1 ส่วน : น้ำเปล่า 10 ส่วน) จากนั้นฉีดพ่นในพื้นที่ที่เตรียมปลูกมะละกอใหม่

ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้น้ำหมักบอระเพ็ด

เมื่อผมนำสารสกัดบอระเพ็ดไปฉีดพ่นในพื้นที่ที่เตรียมปลูกมะละกอใหม่ ผลปรากฏว่าการปลูกมะละกอฮอนแลนด์ในแปลงดังกล่าว ไม่มีโรคไวรัสวงแหวนมารบกวนอีกเลย มะละกอที่ปลูกใหม่มีการเจริญเติบโตแข็งแรง มีใบเขียว ไม่มีอาการใบเหลืองหรือจุดวงแหวนอีกเลย แถมยังช่วยลดการใช้สารเคมีในสวนได้อีกด้วยครับ

ทำไมน้ำหมักบอระเพ็ดถึงป้องกันโรคไว้รัสวงแหวนในมะละกอได้?

จากที่ผมได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจึงได้รู้ว่า บอระเพ็ดมีสารสำคัญ เช่น เบอร์เบอรีน (Berberine) ซึ่งเป็นสารต้านจุลชีพและต้านไวรัสตามธรรมชาติ นอกจากนี้ การหมักบอระเพ็ดร่วมกับกากน้ำตาลเป็นการรวมเอาจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์มาอยู่ในน้ำหมักของเรา ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้พืช ทำให้พืชแข็งแรงขึ้น ลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสและการแพร่กระจายของโรคพืชได้

เคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับการป้องกันโรคไวรัสวงแหวน

นอกจากการใช้บอระเพ็ดแล้ว ผมยังแนะนำเพื่อนๆ ให้ลองทำตามเคล็ดลับเหล่านี้เพิ่มเติม เช่น

- ควบคุมแมลงหวี่ขาว เพราะแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะสำคัญของการแพร่เชื้อไวรัสวงแหวนในมะละกอ ควรใช้สารไล่แมลงจากธรรมชาติ เช่น สะเดา หรือสารสกัดจากใบยูคา ใบสะเดา หรือใบเพกา

- ทำความสะอาดเครื่องมือทางการเกษตร หลังจากตัดแต่งกิ่งหรือดูแลต้นมะละกอ ควรทำความสะอาดกรรไกรหรือมีดให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

- อย่าปลูกมะละกอซ้ำแปลงเดิม หลีกเลี่ยงการปลูกมะละกอในบริเวณเดิมซ้ำๆ เพราะอาจมีเชื้อโรคสะสมในดิน ควรสลับปลูกพืชชนิดอื่นด้วย

- หมุนเวียนพืช การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ถั่วหรือข้าวโพด จะช่วยฟื้นฟูดินและลดการสะสมของเชื้อโรคได้

ประโยชน์ของการใช้สมุนไพรแทนสารเคมี

การใช้สมุนไพรอย่างบอระเพ็ดป้องกันโรคมะละกอ ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาโรคไวรัสวงแหวนเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

- ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม: ไม่ทำลายระบบนิเวศและลดการใช้สารเคมี

- ประหยัดต้นทุน: สมุนไพรไทยหาได้ง่ายและราคาถูกกว่าสารเคมี

- ปลอดภัยต่อผู้ใช้: ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

คำแนะนำสำหรับเพื่อนๆ ที่ทำเกษตรโดยเฉพาะชาวสวนมะละกอ

หากเพื่อนๆ คนไหนเจอปัญหาโรคไวรัสวงแหวนในสวนมะละกอ ลองทำน้ำหมัก บอระเพ็ด ไปปรับใช้ดูนะครับ แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาเข้าไปด้วย นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังเป็นการใช้ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมอีกด้วย ที่สำคัญ อย่าลืมดูแลสวนให้สะอาดและควบคุมแมลงพาหะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสวงแหวนมะละกอ

สรุป: บอระเพ็ด พืชสมุนไพรไทยที่ช่วยชาวสวนมะละกอจากไวรัสวงแหวนได้จริง

จากประสบการณ์ตรงของผม การใช้สมุนไพรไทยอย่างบอระเพ็ด ในการป้องกันโรคไวรัสวงแหวนในมะละกอเป็นวิธีที่ได้ผลจริงและปลอดภัย หากเพื่อนๆ สนใจลองนำวิธีนี้ไปปรับใช้ในสวนของตัวเองดูนะครับ รับรองว่าจะช่วยให้สวนมะละกอของคุณมีความสมบูรณ์แข็งแรง ปลอดโรคไวรัสวงแหวนได้อย่างแน่นอน.

💗บทความที่น่าสนใจ 👉เทคนิคต้ดต้นทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย โตไว ดกกว่าเดิม!

👉5 สาเหตุมะละกอใบเหลือง ต้นโทรม! พร้อมวิธีแก้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ