ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตอนกิ่งมะละกอ ง่ายนิดเดียว


การตอนกิ่งมะละกอ

ในการปลูกมะละกอ  เกษตรกรส่วนใหญ่จะซื้อเมล็ดพันธุ์มะละกอที่มีคุณภาพดีจากท้องตลาดมาปลูก โดยวิธีการเพาะเมล็ด แต่หลังจากที่ได้ผลผลิตรุ่นแรกแล้ว เกษตรกรจะไม่สามารถนำเมล็ดจากมะละกอที่ปลูกได้ในรุ่นแรกมาขยายพันธุ์ต่อได้ เนื่องจากทางบริษัทที่เราไปซื้อเมล็ดพันธุ์มาได้ควบคุมไม่ให้ขยายพันธุ์ได้นั่นเอง หากเกษตรกรจะทำการปลูกใหม่จำต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่มาปลูก ดังนั้น  คุณคำนึง นวลมณีย์ และโรงเรียนบ้านหว้าหลัง จึงได้คิดค้นหาวิธีการ ทำให้มะละกอขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องใช้เมล็ดโดยการตอนกิ่ง ซึ่งมะละกอที่ได้จากการตอนกิ่งจะมีลักษณะดังนี้ - มะละกอที่ได้จะมีขนาดลำต้นที่เตี้ย - มะละกอจะไม่กลายพันธุ์ - ลักษณะของเนื้อและผลของมะละกอจะมีรสชาติคงเดิม

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่งมะละกอ

1.ดินร่วน 
2.ขุยมะพร้าว 
3.ยางหรือเชือกฟาง 
4.มีด 
5.ถุงพลาสติก

วิธีการตอนกิ่งมะละกอ

เตรียมต้นพันธุ์มะละกอ (ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน)

1.ให้นำดินร่วนผสมกับขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 3:1 มาผสมให้เข้ากัน

2.นำดินที่ผสมแล้วใส่ในถุงพลาสติกขนาด 3*5 นิ้ว

3.เลือกต้นพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์

4.ใช้มีดเฉือนกิ่งพันธุ์ จากข้างล่างขึ้นข้างบน

5.ใช้ลิ่มไม้เสียบเข้าไปในบริเวณที่เฉือนเพื่อไม่ให้เนื้อไม้ติดกัน

6.นำดินที่ใส่ในถุงกรีดกรีดถุงยาวพอสมควร รดน้ำให้ชุ่มแล้วไปวางทับกับรอยที่เฉือนกิ่งเอาไว้

7.ผูกเชือกให้แน่น

8.เฉือนท่อน้ำเลี้ยงห่างลงมาจากกิ่งตอน ประมาณ 3-5 นิ้ว เพื่อเป็นการตัดท่อลำเลียงธาตุอาหารและน้ำ เมื่อขาดธาตุอาหาร ขาดน้ำ จะทำให้รากของมะละกองอกออกมาเร็วขึ้น

9.ในระยะเวลา 30-45 วันรากของมะละกอก็จะออกรากออกมา ซึ่งเราสามารถตัดนำไปปลูกได้แล้ว

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.สงขลา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน