ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลูกมะละกอให้เป็นต้นสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย) 99%


เทคนิคปลูกมะละกอให้เป็นต้นกระเทย ผลผลิตสูง

ต้นกล้ามะละกอที่พร้อมปลูก
การบังคับเพศมะละกอ
ในวงการมะละกอก็เป็นที่รู้กันอยู่นะครับว่า ต้นมะละกอที่ให้ผลผลิตดี และเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด ก็คือมะละกอที่ออกจากต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่า ต้นกระเทยนั่นเองครับ  แต่เราจะปลูกอย่างไรให้ต้นมะละกอที่เราปลูกเป็นต้นสมบูรณ์เพศเกือบ 100 % มาดูวิธีกันครับ

ก่อนอื่นให้นำต้นกล้ามะละกอที่เตรียมไว้เรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่นโดยเฉพาะรอบ ๆ ติดกับโคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่มการปลูกมะละกอเป็นการค้า แม้ว่าจะใช้เมล็ดจากผลมะละกอสมบูรณ์เพศ แต่เมล็ดที่ปลูกจะได้ต้นมะละกอสมบูรณ์เพศเพียง 66 เปอร์เซ็นต์ อีก 33 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้นเพศเมียซึ่งผลกลมตลาดให้ราคาถูก ถ้าอยากได้มะละกอผลยาวมากขึ้น ให้ปลูกต้นมะละกอให้มากต้นต่อหลุม และตัดต้นเพศเมียออกเมื่อออกดอกแล้ว จะได้ต้นสมบูรณ์เพศมากขึ้น

แสดงจำนวนต้นต่อหลุมกับอัตราส่วนต้นเพศเมียและต้นสมบูรณ์เพศ
- จำนวน 1 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 33.33 % ต้นสมบูรณ์เพศ 66.67 %
- จำนวน 2 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 11.11 % ต้นสมบูรณ์เพศ 88.89 %
- จำนวน 3 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 3.70 % ต้นสมบูรณ์เพศ 69.30 %
- จำนวน 4 ต้นต่อหลุม จะได้ต้นเพศเมีย 1.23 % ต้นสมบูรณ์เพศ 98.77 %

แต่ในทางปฏิบัติใช้ต้นปลูก 2 ต้นต่อหลุมก็พอครับ เพราะในหนึ่งร้อยหลุมหลังจากตัดต้นตัวเมียออกจะเหลือต้นสมบูรณ์เพศเท่ากับ 88.89 x 2 = 176 ต้น ทำให้ได้ผลผลิตขายมากขึ้นด้วย

การให้น้ำมะละกอ 

ถ้าเกษตรกรปลูกมะละกอช่วงต้นฤดูฝนจะช่วงประหยัดทุนและแรงงานในการให้น้ำ โดยเฉพาะในช่วงปลูกใหม่ ๆ จะต้องให้น้ำกับต้นกล้ามะละกอจนกว่าจะตั้งตัวได้ โดยรดน้ำ 2-3 วันต่อครั้ง และที่สำคัญคือช่วงที่มะละกอออกดอกติดผลเป็นช่วงที่ต้องการน้ำมาก การขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วง ผลร่วง ผลไม่สมบูรณ์ การให้น้ำกับต้นมะละอกอย่างสม่ำเสมอจึงทำให้มะละกอมีผลผลิตสูง โดยเฉพาะมะละกอที่ปลูกในที่ดอนหรือในเขตจังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(พื้นที่ดินร่วนปนทราย)


ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้นยังไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของมะละกอ จำต้องมีการใช้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือนโดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง ในระยะ 1 ปี ตลอดช่วงฤดูฝน แบ่งใส่ครั้งละประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อาจใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ชนิดที่มีอาหารธาตุรองฉีดพ่นทุก 14 วันต่อครั้ง หลังย้ายปลูกเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยใช้ในอัตรา 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ขณะเดียวกันก็อาจใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 50 กรัม หลังจากย้ายปลูก 1 เดือน และใส่ปุ๋ยทุกเดือนจนถึงเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูกจะใส่เพิ่มเป็นต้นละ 100 กรัมทุกเดือน เมื่อมะละกอติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กรัม ผสมกับยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อต้น
*** วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้ใช้การหว่านลงบนดินบริเวณทรงพุ่ม (รัศมีทรงพุ่มของมะละกอ) แล้วพรวนดินกลบ รดน้ำตามอย่าใส่ปุ๋ยชิดโคนต้น เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้

การกำจัดวัชพืชในสวนมะละกอ

ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้นได้ เมื่อมีวัชพืชขึ้นควรใช้วิธีการดายหญ้า แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอจะทำให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งคลุมโคนต้นและแปลงให้หนา ๆ จะทำให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกขึ้นบริเวณนั้น ขณะมะละกอยังต้นเล็ก ห้ามใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชใดๆ เพราะจะทำให้มะละกอเสียหายได้ ถ้ามะละกอต้นโตแล้วและมีหญ้าฤดูเดียวงอก อาจใช้พาราควอท ฉีดฆ่าหญ้าได้ แต่ระวังอย่าให้โดนใบและผล พาราควอทใช้อัตราประมาณ 60-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

การออกดอกติดผลของมะละกอ

ต้นมะละกอเมื่อย้ายปลูกลงแปลงได้ 8-10 สัปดาห์จะเริ่มออกดอก โดยดอกจะอยู่เหนือก้านใบ และจะเห็นชัดว่าเป็นดอกเพศใด ถ้าเป็นต้นเพศเมียก็ตัดฟันออกในระยะนี้ ถ้าเป็นดอกสมบูรณ์เพศก็เอาไว้บำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรงและติดผล เกษตรกรต้องตรวจดูผลที่ติดว่าเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่ติดผลเป็นพลูหรือให้ผลบิดเบี้ยวหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ หรือแม้ว่าผลที่ปกติในช่อเดียวกันอาจติดผลมาก ผลที่เบียดกันจะไม่โตทำให้ไม่ได้ขนาดมาตรฐาน ควรปลิดออกเช่นกัน ผลที่ได้มาตรฐานขนาดใกล้เคียงกันจำหน่ายง่าย ในระยะติดผลต้องคอยกลบดินโคนต้นหรือพูนโคนป้องกันการโค่นล้ม เพราะน้ำหนักผลไม่สม่ำเสมอกัน หรือใช้การปลิดผลไม่ให้ต้นรับน้ำหนักมากด้านใดด้านหนึ่งก็ป้องกันต้นโค่นล้มได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ