ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สารอาหารต่างๆในมะละกอ

รวมสารอาหารที่มีอยู่ใน “มะละกอ”


ประโยชน์ของมะละกอ

“มะละกอ” ที่เรานิยมปลูกกันโดยทั่วไป นอกจากจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังประกอบด้วยสารอาหารต่างๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น พอดีว่าผมมีปลูกไว้หลังบ้าน 4-5 ต้น พอได้อ่านเจอข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของ “มะละกอ” ก็เลยมีโครงการว่าจะทำสวน “มะละกอฮอนแลนด์” ไว้สักแปลง แต่ตอนนี้ขอรวบรวมข้อมูลและทดลองปลูกทีละน้อยก่อน และข้อมูลดีๆเกี่ยวกับมะละกอที่ว่านี้ อยู่ตรงหน้าผู้อ่านแล้วครับ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวัดปริมาณทางด้านคุณค่าทางโภชนาการของ “มะละกอ” พบว่า ในเนื้อมะละกอสุกปริมาณ 100 กรัม จะประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้

- โปรตีน      0.5 กรัม
- ไขมัน       0.1 กรัม
- เหล็ก       0.6 มิลลิกรัม
- แคลเซียม  24 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
- โซเดียม      4 มิลลิกรัม
- กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม
- ไทอะมีน          0.04 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน               0.4 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน   0.04 มิลลิกรัม

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ เพราะในยางมะละกอ ยังมีเอนไซม์อยู่กลุ่มหนึ่งเรียกว่า “พาเพน (Papain)” ซึ่งปกติจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เป็น Proteolytic enzyme (เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน) อยู่ 4 ชนิด คือ Papain, Chymopapain A และ B และ Papaya peptidase A โดย Chymopapain ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดใน “ยางมะละกอ” รองลงมาคือ Papain ซึ่งมีประมาณต่ำกว่าร้อยละ 10 และ Papaya peptidase A ซึ่งจะมีปริมาณน้อยที่สุด ส่วนเอนไซม์ Chymopapain จะมีคุณสมบัติที่ทนความร้อนและทนต่อสภาพกรดได้ดี และเอนไซม์ตัวนี้แหละครับที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการหมักเนื้อ เพราะเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เนื้อที่เราหมักมีความนุ่มอร่อย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเอนไซม์ต่างๆเหล่านี้ในยางมะละกอจากส่วนที่เป็นก้าน ใบ และผลดิบของมะละกอ และ Papain เอนไซม์ ยังจัดว่ามีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในกิจการอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนี้

- ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยา เป็นองค์ประกอบสำคัญของตัวยาที่ช่วยย่อยอาหาร และช่วยรักษาแผลติดเชื้อต่างๆ นอกจากนี้ Papain เอนไซม์ ยังมีคุณสมบัติที่ทำให้เลือดแข็งตัว และยังใช้เป็นยาฆ่าพยาธิในลำไส้ได้อีกด้วย

- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์และปลา เพราะจะทำให้เนื้อสัตว์ต่างๆนั้นเกิดความ นุ่ม เปื่อย มีรสชาติอร่อย เมื่อนำมาประกอบอาหาร

- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล้า เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ โดย Papain เอนไซม์ จะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สารละลายใสไม่ขุ่น เมื่อเก็บไว้นานๆ หรือเก็บในที่อุณหภูมิต่ำๆ

- ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง โดยผสม Papain เอนไซม์ ในน้ำยาแช่หนัง จะทำให้หนังเรียบและนุ่ม


- ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า จะใช้ Papain เอนไซม์ ฟอกไหมให้หมดเมือก เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน