ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ยาง “มะละกอ” กำจัดหอยเชอร์รี่ได้

ยาง “มะละกอ” กำจัดหอยเชอร์รี่ได้

ยาง “มะละกอ” กำจัดหอยเชอร์รี่ได้
เมื่อสองปีที่แล้ว ตอนที่ผมกลับมาอยู่บ้าน มาทำเกษตรใหม่ๆ  เริ่มปลูกข้าวปีแรกๆ ก็เจอกับกองทัพหอยเชอร์รี่จำนวนมาก ซึ่งลักษณะการทำลายต้นข้าวของหอยเชอร์รี่ถือว่าไม่ธรรมดาครับ เพราะมันจะกัดกินต้นขาวที่กำลังอ่อนจนเกลี้ยงภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน แถมยังปีนขึ้นไปวางไข่บนต้นข้าวแพร่ขยายพันธุ์เตรียมลูกเตรียมหลานเอาไว้ทำลายต้นข้าวฤดูกาลต่อไปอีก เคยไปขอคำปรึกษากับหลายๆคนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้ใช้สารเคมีกัน ซึ่งผมเองยอมรับว่าไม่ชินและไม่ถนัดครับ ก็ต้องหาทางกำจัดด้วยแนวทางชีวภาพต่อไป เพราะผมเน้นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ซึ่งต่อมาไม่นานก็ได้พบวิธีการกำจัดหอยเชอร์รี่จากปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่ง ท่านบอกว่า “ในการกำจัดหอยเชอร์รี่ที่กัดกินต้นข้าว เพียงให้เราตัดเอาต้น “มะละกอ” ที่แก่แล้วฝานเป็นแว่นใหญ่ หรือไม่ก็ให้นำใบมะละกอไปแช่ลงในแปลงนาที่มีหอยเชอร์รี่อยู่ เพียงไม่กี่วันหอยเชอร์รี่ก็จะตาย หรือหนีไปทันที” บังเอิญว่าผมมีต้นมะละกอที่ปลูกไว้หลังบ้าน ซึ่งเป็นต้นแก่ต้องการจะตัดทิ้งพอดี ก็เลยลองทำตามดู โดยการตัดทั้งต้น แล้วฝานเป็นแว่นใหญ่ๆ ให้ยางมะละกอซึมออกมา จากนั้นก็นำไปแช่ในแปลงนาที่มีหอยเชอร์รี่ ยางมะละกอก็จะลายลายไปกับน้ำในนา เพียงสามวันเท่านั้นเองครับ ผลปรากฏว่า ไม่รู้หอยเชอร์รี่ตัวใหญ่ๆที่เคยกัดกินต้นข้าว มันหายไปไหนหมด เห็นแต่ซากที่ตายของตัวเล็กๆ เป็นอันว่าวิธีนี้ได้ผลจริงๆครับ ก็เลยสงสัยว่า..

"ยางมะละกอ” กำจัดหอยเชอร์รี่ได้อย่างไร?

ทำไม “มะละกอ” ถึงกำจัดหรือขับไล่หอยเชอร์รี่ได้? ก็ได้ค้นคว้าหาข้อมูล และบังเอิญไปค้นเจอข้อมูลบางส่วนในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ซึ่งระบุเอาไว้ว่า ในส่วนต่างๆของมะละกอโดยเฉพาะในยางมะละกอ จะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งปกติจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เป็น Proteolytic enzyme (เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน) ซึ่งมีฤทฺธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งหากไปผสมกับน้ำจะเป็นอันตรายต่อหอยเชอร์รี่โดยตรง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเช่นสัตว์น้ำต่างๆ เรียกได้ว่าเอนไซม์ชนิดนี้เป็นจอมพิฆาตหอยเชอร์รี่อย่างเดียวครับ ซึ่งข้อมูลที่ผมกล่าวมานี้ผมได้ทดลองปฏิบัติจริงมาแล้วด้วยตัวเอง หรือหากผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลในเชิงวิชาการมากกว่านี้ ยังงัยก็แนะนำด้วยนะครับ..พบกับสาระดีๆในบทความหน้า..สวัสดี   

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน