สรรพคุณทางยาของมะละกอ
ประโยชน์ของมะละกอ
ยางจากใบมะละกอหรือผล จะมีน้ำย่อยปาปะอิน (papain) หรือ ที่เรียกว่า ปาปะโยทิน (papayotin) ในส่วนของใบยังมีไกลโคไซด์ ชื่อ carposide และ อัลคาลอยด์ capaine ส่วนผลดิบจะมีสาร petin แต่เมื่อสุกจะมีสาร carotenoid และมีสาร benzyl isothiocyanate ในเมล็ด
สรรพคุณทางยาสมุนไพรที่มีในมะละกอ
ยางมะละกอ
ใช้ยาง 5-6 หยด ทาบริเวณที่เป็นหูด วันละ 3-5 ครั้ง แต่ต้องระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณอื่น
ยางสดจากใบหรือผลของมะละกอ
นำมาทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน มด ตะขาบ วันละบ่อยครั้ง
จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมจนกระทั่งหายได้
เมล็ดแก่ของมะละกอ
ใช้เมล็ดแก่ จำนวน 1-2 ช้อนชา
ม ผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปคั่วพอให้บดได้ง่าย แล้วนำไปบดให้ละเอียด เติมน้ำผึ้ง หรือ
น้ำเชื่อมลงไปพอประมาณคนให้เข้ากัน ทานติดต่อกัน 2-3 วัน
จะช่วยถ่ายพยาธิได้
ผลสุกของมะละกอ
ทานเป็นผลไม้เป็นยาระบายอ่อนๆ ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
มะละกอผลดิบ
ใช้ทำเป็นอาหาร จะช่วยย่อยโปรตีนเพราะมีสารช่วยย่อย (papain)
รากมะละกอสด
ใช้รากสด 3- 6 กรัม (ประมาณ 1 กำมือ) ล้างให้สะอาด
ต้มกับน้ำ 1 แก้ว แล้วดื่มให้หมด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ช่วยขับปัสสาวะ
การนำมะละกอมาใช้ทางการเกษตร
นำใบมะละกอมาหั่นให้ได้น้ำหนัก
1 กิโลกรัม
แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร
จากนั้นขยำชิ้นส่วนของใบมะกอกับน้ำ เพื่อคั้นเอาแค่น้ำที่ได้จากใบมะละกอ นำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง
แล้วเติมน้ำสะอาดลงไปผสมกับน้ำคั้นที่ได้จากใบมะละกอ ให้ได้น้ำสารละลายทั้งหมด 4 ลิตร ก่อนนำไปใช้ให้ผสมกับน้ำสบู่ประมาณ 15 กรัม
คนให้เข้ากันก่อนนำไปฉีดพ่นในแปลงพืชที่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ต.ชาตรี.เคล็ดลับภูมิปัญญาไทย ชุด สมุนไพรเพื่อการเกษตร