ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลูกมะละกอ พันธุ์ฮอนแลนด์


การปลูกและการดูแลรักษามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

มะละกอฮอนแลนด์

มะละกอฮอนแลนด์
มะละกอเป็นผลไม้ยืนต้น ที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งมะละกอดิบเมนูที่นิยมกันมากก็คือ ส้มตำ ส่วนมะละกอสุก ก็สามารถนำไปรับประทานสดเพื่อสุขภาพ หรือแปรรูปในลักษณะต่างๆ ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของการปลูกมะละกอนั้นสามารถทำได้แต่ต้องใช้ความอดทนและการเรียนรู้ตลอด อย่างเช่น คุณสมศักดิ์ ม่วงพานิช เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์และพันธุ์แขกดำ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี ซึ่งมีรายละเอียดการปลูกและการดูแล ดังนี้

การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ : นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูก เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน

วิธีการเพาะเมล็ดมะละกอฮอนแลนด์

1. นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำ 3 คืน โดยเปลี่ยนน้ำที่แช่บ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
2. นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยให้ใส่ 3-4 เมล็ด/ถุง
3. รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 9-10 วัน เมล็ดก็จะงอก
4. ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละ 1 ครั้ง

ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอ 

1. ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถ ทำการตากดินไว้ประมาณ 5 วัน
2. ขุดหลุมลึกประมาณ 30ซม.ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 2.5X 2.5 เมตร 1 ไร่ จะปลูกได้ ราว 250 ต้น และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์
3. นำต้นมะละกอปลูกในหลุม กลบดินให้แน่น

การดูแลรักษา

1. รดน้ำพอชุ่ม
2. ใส่ปุ๋ยสูตรผสม12-15-20 โดยระยะการให้ปุ๋ยคือ 1 เดือน/ครั้ง
3. หลังจากที่ลงปลูกมะละกอไปได้ประมาณ 3 เดือน มะละกอทั้ง 3 ต้นที่อยู่ในหลุมเดียวกันจะเริ่มออกดอก ให้ทำการตัดต้นที่เป็นตัวผู้และตัวเมียทิ้ง เหลือไว้แต่ ต้นกะเทยเนื่องจากต้นกะเทยจะให้ผลที่ดก และลูกมะละกอที่ออกมาจะยาวสวย เนื้อหนากว่าต้นที่เป็นตัวเมียและตัวผู้ โดยการสังเกตต้นกะเทยนั้นก็ให้ทำการแหวกกลีบดอกดู ถ้าต้นไหนที่มีทั้งเกสรตัวเมียและตัวผู้อยู่ในดอกเดียวกัน
4. หลังจากต้นมะละกออายุได้ 8 เดือนไปแล้ว ก็จะสามารถเก็บผลขายได้ทุกสัปดาห์ ไปจน 3 ปี ต้นมะละกอจึงจะหมดอายุ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ต้องตัดทิ้ง ปลูกใหม่

เกร็ดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมะละกอฮอลแลนด์ 

- มะละกอฮอลแลนด์จะให้ผลผลิต เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 กก. ต่อ ต้น ตลอดอายุการเพาะปลูก
- หลังย้ายปลูก 9 เดือนก็สามารถเก็บผลสุกมะละกอจำหน่ายได้ โดยสังเกตดูที่ผลหากมีแต้มปรากฏอยู่บนผล 2-3 แต้มก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
- สภาพอากาศร้อนจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนดอกกระเทยให้กลายเป็นดอกตัวเมีย และถ้ามีอากาศร้อนมาก ๆ จะทำให้มะละกอไม่ติดดอกได้ จึงควรให้มีความชื้นอย่างเพียงพอในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
- มะละกอจะมีราคาแพงขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน

ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอฮอลแลนด์

มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออก เป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุ เก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม จุดเด่นที่มองออกง่ายมากว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน

ลักษณะเด่นของมะละกอฮอลลแลนด์

ไม่มีกลิ่นยาง เนื้อหนา รสหวาน เปลือกหนา ทนทานต่อโรค ทนทานต่อการขนส่งให้ผลดก เนื้อแน่นแข็ง น้ำหนักดี รสชาติหวาน ทนทานต่อโรค มีตลาดรองรับ มะละกอพันธุ์นี้มีอายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลอยู่ที่ประมาณ 0.8-1.2 กก.ต่อผล เนื้อมีสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์นี้สามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมะละกอฮอลแลนด์ 

สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่น้ำขัง ดินที่ เหมาะสมมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-5.0 ระยะปลูก 2.5x3 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 224 ต้น หากปลูกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ มะละกอจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ปุ๋ยที่ใส่ให้ เริ่มต้นที่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สำหรับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใช้ สูตร 15-15-15 ระยะที่ติดผลอ่อน ก่อนการเก็บเกี่ยวใส่ สูตร 13-13-21 ใส่รอบๆ ต้น จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น เมื่อปลูกได้ 7-8 เดือน มะละกอฮอลแลนด์จะสุกแก่ เริ่มเก็บได้ ปริมาณผลผลิต หากดูแลปานกลาง จะได้ผลผลิตราว 5-8 ตัน ต่อไร่

วิธีการเก็บเกี่ยวมะละกอฮอลแลนด์ 

เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุก 5-10 เปอร์เซ็นต์ คือ ผิวมีแต้มสีเหลืองเล็กน้อย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน