ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลูกมะละกอฮอลแลนด์อย่างง่ายๆ ไม่ต้องใส่ถุงเพาะ โตไว ให้ผลผลิตยาวนาน


    ในการปลูกมะละกอโดยส่วนใหญ่ที่นิยมกัน ก็มักจะนำเมล็ดมะละกอมาเพาะลงถุงเพาะชำก่อน จากนั้นก็อนุบาลให้มีใบจริงประมาณ 4 - 5 ใบแล้วค่อยปลูกลงแปลง อีกวิธีหนึ่งก็คือการนำเมล็ดมาเพาะลงแปลงปลูกได้เลย โดยไม่ต้องผ่านถุงเพาะชำ โดยส่วนตัวแล้ววิธีที่ 1 ผมมองว่าเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก จึงได้ทำการทดลองปลูกทั้ง 2 วิธีเพื่อหาข้อแตกต่างและหาข้อสรุปมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ครับ

มะละกอฮอลแลนด์
- วิธีที่1 อย่างที่บอกไปก็คือนำเมล็ดมะละกอจากผลสุกสดมาล้างเยื่อหุ้มเมล็ดออก จากนั้นก็นำไปเพาะลงถุงเพาะชำ 4-5 เมล็ด/ถุง อนุบาลสักระยะประมาณ 1 เดือนคือให้มีใบจริงประมาณ 4-5 ใบหรือมากกว่านั้นค่อยนำไปปลูกลงแปลง


- วิธีที่2 นำเมล็ดมะละกอจากผลสุกสดมาล้างเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออกเหมือนวิธีที่ 1 แต่ไม่ได้เพาะลงถุงเพาะชำ คือจะเตรียมหลุมปลูกรองพื้นด้วยวัสดุหมักเหมือนเราปลูกต้นไม้ทั่วไป


    ในการปลูกมะละกอทั้งสองวิธีที่ว่ามานี้ผลปรากฏว่ามะละกอที่ปลูกด้วยการหยอดเมล็ดลงดินแบบไม่ต้องใส่ถุงเพาะมีการเจริญเติบโตที่ไวกว่าที่อยู่ในถุงเพาะชำเสียอีกทั้งที่ใช้เวลาในการเพาะเท่ากันคือเพาะปลูกวันเดียวกัน แม้กระทั่งเพาะปลูกห่างกัน 1 สัปดาห์ มะละกอที่ปลูกลงหลุมแบบไม่ต้องผ่านถุงดำกลับมีการเจริญเติบโตที่ไวกว่าสมบูรณ์แข็งแรงกว่า  


    หากเปรียบเทียบมะละกอที่เพาะในถุงดำ กับหยอดเมล็ดลงแปลง (ดังภาพ) ก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเหตุผลก็เพราะว่า มะละกอที่เพาะในถุงเพาะชำมีการขดตัวของราก มีแหล่งอาหารที่จำกัด มีการระบายน้ำในวงจำกัด บางครั้งเรารดน้ำบ่อยหรือมากเกินไปอาจทำให้ใบเหลืองหรือรากเน่าเสียหาย ตายไปบ้างก็มี และอีกกรณีหนึ่งก็คือเมื่อเราเคลื่อนย้ายไปปลูกในแปลงต้นมะละกอก็จะปรับสภาพให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสภาพพื้นที่ที่แตกต่างซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้การเจริญเติบโตหรือแม้กระทั่งความสมบูรณ์และความแข็งแรงมีน้อยกว่าต้นที่ปลูกแบบหยอดเมล็ดลงดินเลย เพราะเมล็ดที่ปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้อย่างดี จะมีการกระจายรากที่เป็นอิสระ สามารถหาอาหารได้ในวงกว้างรอบโคนต้น มีการระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว อยู่ในสภาพแวดล้อมคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง และที่สำคัญไม่มีโรคแมลงรบกวน แถมยังให้ผลผลิตดก ให้ผลผลิตต่อเนื่องยาวนาน

    นี่คือต้นจริงที่ผมได้ทดลอง ซึ่งก็มีอยู่หลายสิบต้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ปลูกแบบเพาะในถุงดำผลปรากฏว่าเมื่อผ่านไปประมาณ 3 ปี เปอร์เซ็นต์รอดของต้นที่ปลูกแบบธรรมชาติจะมีสูงกว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนต้นที่เพาะในถุงดำเปอร์เซ็นต์อยู่ต่อหรือเปอร์เซ็นต์รอดจะมีน้อยกว่า การดูแลก็แตกต่างกัน ต้นที่ปลูกแบบธรรมชาติจะทนต่อสภาวะความแห้งแล้งมากกว่า และที่สำคัญให้ผลผลิตต่อเนื่องยาวนานกว่า

มะละกอฮอลแลนด์อายุ 3 ปี (ปลูกด้วยการหยอดเมล็ดลงแปลง)
    ในกรณีที่ว่ามานี้ผู้อ่านสามารถทดลองได้ โดยหาพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ลาดเอียงหรือที่เนินไม่มีน้ำขัง จากนั้นก็หาซื้อมะละกอสุกมาสักลูกผ่าเอาเมล็ดออก นำเมล็ดไปล้างเยื่อหุ้มเมล็ดออกให้หมดจากนั้นก็เพาะลงในถุงดำ 1 ชุด (4-5) อีกชุดให้หยอดเมล็ดลงหลุมปลูกที่เตรียมไว้ 4 – 5 เมล็ด ดูแลให้น้ำเหมือนกัน ลองสังเกตดูผลที่แตกต่างว่าจะเป็นอย่างที่ผมพูดหรือไม่ ลองทำดูนะครับ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ