ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ต้นกำเนิด “ ส้มตำ ”

ความเป็นมาของส้มตำ

ส้มตำ

เมนูส้มตำ จัดเป็นอาหารที่ถูกปาก และเป็นที่รู้จักของคนไทยมานาน แต่ก่อนผมคิดว่าส้มตำนะจะเป็นอาหารประจำท้องถิ่นของคนอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือไม่ก็น่าจะมีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศลาว แต่พอรู้ทีหลัง มันไม่ใช่อย่างที่คิดครับ แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเมนูส้มตำกันดีกว่า เริ่มจากนำมะละกอดิบมาปอกเปลือกออกล้างน้ำ เพื่อล้างยางมะละกอออกให้หมด ตำพริกหนุ่มหรือพริกแห้งแล้วแต่ชอบ พร้อมกระเทียม 2 กลีบโขลกให้ละเอียดพอดี จากนั้นใส่เส้นมะละกอลงในครก ตามด้วยมะเขือเทศผ่าคึ่งหรือฝานเป็นแว่นสัก 2-3 ลูก อีกทั้งกุ้งแห้ง ถั่วลิสง ปูดอง ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปลาร้า บีบมะนาวใส่ครึ่งลูกตำรวมกันปรุงรสให้ออกเปรี้ยวนิดๆ รับประทานกับข้าวเหนียวไก่ย่าง ตามด้วยผักสดเช่นผักบุ้ง ผักกาด หรือถั่วฝักยาว อร่อยอย่าบอกใครเลยเชียว

สำหรับ "ส้มตำ" ที่เรารู้จักและเป็นที่คุ้นหูคุ้นตากันดี ตามที่กล่าวมานี้  “วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี” ให้รายละเอียดไว้ว่า “ส้มตำ” จัดเป็นอาหารสมัยใหม่ ถือกำเนิดมาประมาณ 40 กว่าปีมานี้เอง ทั้งนี้เนื่องจากมะละกอที่เราปลูกกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นพืชที่มีการนำเข้ามาจากเมืองมะละกาประเทศมาเลเซีย ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งในสมัยนั้นรัฐบาลไทยได้ให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการบ ตลอดถึงใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารสู่พื้นที่รบ และพร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอมาปลูกตามแนวสองข้างทางถนนมิตรภาพ มะละกอจึงได้เผยแพร่สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันและเป็นอาหารหลักของคนอีสานไปแล้ว และได้เผยแพร่ไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มะละกอที่นิยมนำมาทำส้มตำมากที่สุดก็คือมะละกอพันธุ์แขกนวล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ