ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มะละกอพันธุ์ “ศรีราชภัฎ”

มะละกอสายพันธุ์ใหม่ “ศรีราชภัฎ”

สำหรับเมนู “ส้มตำ” จัดว่าเป็นอาหารโปรดของผมเลยก็ว่าได้ บางวันจัดไปเกือบๆสามมื้อเลยทีเดียว และสูตรเด็ดที่ผมทำจะเป็นส้มตำสูตร “อีสาน” เผ็ดๆ รสชาติออกเปรี้ยวนิดๆ แกล้มด้วยยอดผักบุ้งอ่อน ..แซ่บ..แบบน้ำตาไหล! แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะนำมาฝากในวันนี้หรอกนะครับ เพราะผมเพิ่งได้เจอข้อมูลดีๆเกี่ยวกับมะละกอสายพันธุ์ใหม่ เป็นพันธุ์มะละกอที่สามารถต้านทานโรคจุดวงแหวนซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสได้ดีอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งก็เป็นผลงานชิ้นยอดของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามใกล้ๆบ้านผมนี่เอง และแน่นอนสำหรับอาจารย์ผู้คิดค้นและทดลองหลักๆก็คือ รศ.ดร. รภัสสา จันทาศรี รองคณะบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราภัฎมหาสารคาม และท่านยังเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยมะละกอและพัฒนามะละกอสำหรับบริโภคสดจังหวัดมหาสารคามอีกด้วย ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลว่า มะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ว่านี้ ใช้ชื่อว่า มะละกอพันธุ์“ศรีราชภัฎ”  เกิดจากการกลายพันธุ์มาจากมะละกอพันธุ์ครั่งเนื้อแดงที่ปลูกบริเวณสถานีวิจัยพันธุ์พืชเพาะเลี้ยง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม มีลักษณะที่โดดเด่นคือเป็นมะละกอพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานต่อโรคใบจุดได้ดี ลักษณะลูกยาวรี มีเนื้อข้างในหนา กรอบอร่อย ส่วนผลสุกจะมีเนื้อข้างในสีเหลือง รสชาติหวานอร่อยมาก ซึ่งมีลักษณะที่โดดเด่นคือ จะเป็นมะละกอที่ออกดอกและติดผลเร็ว มีผลดกประมาณ 90-100 ผล/ต้น มีลักษณะผลยาวรี ผลดิบจะมีเนื้อที่กรอบอร่อยเหมาะกับการทำส้มตำมาก ส่วนผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง รสหวาน (ความหวานอยู่ที่ 11-12 องศาบริกซ์) และที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ “มะละกอ”  ที่ทนทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวนได้เป็นอย่างดีครับ
สุดท้ายแล้วหากใครสนใจที่จะปลูก หรือจะสั่งซื้อต้นกล้ามะละกอสายพันธุ์ “ศรีราชภัฎ” ที่ว่านี้ ทางมหาวิทยาลัยก็มีจำหน่ายอยู่ที่ต้นกล้าละ 10 บาท ส่วนเมล็ดมะละกอราคาจะอยู่ที่เมล็ดละ 1 บาท (จัดส่งทางไปรษณีย์) หรือจะสอบถามรายละเอียดโดยตรงได้ที่ รศ.ดร. รภัสสา จันทาสี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โทร. 089 063-2770
ที่มา: นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ