ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เพศมะละกอ

วิธีบังคับเพศมะละกอให้เป็นต้นกะเทย

สิ่งสำคัญอันดับแรกๆที่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอต้องศึกษาและเรียนรู้คือเรื่องของ“เพศมะละกอ” เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงเพิ่มผลผลิตสร้างรายได้ต่อไป และเพศมะละกอที่เราควรรู้จักก็มีอยู่ 3 อย่างคือ

- ต้นมะละกอตัวผู้ จะเป็นต้นมะละกอที่ให้ช่อดอกเป็นช่อยาว มีดอกเดี่ยวหลายดอก แต่จะไม่ติดผล ควรจะตัดทิ้งหรือทำการเปลี่ยนเพศเสียใหม่

- ต้นมะละกอตัวเมีย จะเป็นต้นมะละกอที่ให้ผลกลมและป้อม เนื้อจะบาง และมีไส้กลวง ให้ผลผลิตน้อยมาก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

- ต้นมะละกอกะเทย จะเป็นต้นมะละกอที่ให้ผลยาวและผลจะมีขนาดใหญ่ มีเนื้อหนา รสชาติดี เป็นที่นิยมของตลาดอย่างมาก ให้ผลผลิตสูง ซึ่งในผลของมะละกอกะเทยก็จะมีทั้งเมล็ดที่เป็นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นกะเทยรวมกันอยู่ภายใน

วิธีบังคับ “เพศมะละกอ” ให้เป็นต้นกะเทย

จากความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ผมได้ศึกษาเรียนรู้มา เกี่ยวกับวิธีบังคับเพศมะละกอให้เป็นต้นกะเทยนั้น เราต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก คือก่อนที่เราจะนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกในแปลง ให้เราตัดรากแก้วทิ้งประมาณ 5 เซนติเมตร หรือประมาณ 2 ข้อมือ คือให้วัดจากปลายรากมาหาโคนต้น ไม่ใช่ตัดจากโคนไปหาปลาย แล้วค่อยนำลงปลูกตามปกติ ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือ ในกรณีที่เราปลูกมะละกอจนกระทั่งโตพอสมควรแล้ว และสังเกตเห็นว่าเป็นมะละกอต้นตัวผู้ที่เราไม่ต้องการ คือจะออกดอกเป็นช่อยาว ดอกเดี่ยวจะมีขนาดเล็กสีขาว ประมาณ 15-20 ดอกต่อช่อ ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้ตัดคอมะละกอด้วยมีดที่คมและสะอาดให้ขาด เหลือใบไว้เพียง 1-2 ใบก็พอ จากนั้นให้ทารอยแผลที่ตัดด้วยปูนแดงเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย หมั่นบำรุงต้นด้วยการให้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก และฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพเป็นระยะ อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ต้นมะละกอก็จะแทงยอดใหม่ให้เราได้เห็น เราก็ทำการดน้ำและบำรุงรักษาให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงตามปกติ อีกไม่นานยอดที่แทงออกมาใหม่ก็จะออกดอกติดผลเป็นมะละกอต้นกะเทยที่มีผลดกได้อย่างสมบูรณ์ครับ 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ...