วิธีปลูกมะละกอพันธุ์
“ศรีราชภัฎ”
สำหรับมะละกอพันธุ์
“ศรีราชภัฎ" ของราชภัฎมหาสารคามจัดว่าเป็นสานพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคจุดวงแหวนได้เป็นอย่างดี
ในการปลูกแนะนำให้เพาะเมล็ดลงถุงเพาะชำก่อน โดยการเตรียมดินร่วน + แกลบเผา +
ทรายหยาบ ผสมเข้าด้วยกันในอัตราส่วน 1:1:1 จากนั้นกรอกใสถุงเพาะชำขนาด 4×4 หรือ 4×6 นิ้ว รดน้ำในถุงเพาะชำให้ชุ่ม
เสร็จแล้วให้นำเมล็ดมะละกอที่เตรียมไว้มาหยอดลงไป ใช้ไม้เล็กๆเท่าก้านไม้ขีดกดให้ลึกประมาณ
½ ข้อมือ ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำตามอีกหนึ่งครั้ง
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน เมล็ดมะละกอก็จะเริ่มงอกให้เห็น จากนั้นให้เราดูแลต่ออีกประมาณ 30 วัน ก็สามารถนำลงปลูกที่แปลงได้
หลุมสำหรับปลูกมะละกอพันธุ์
“ศรีราชภัฎ”
สำหรับแปลงปลูกในพื้นที่ลุ่มให้ไถพรวนแล้วทำการยกร่องปลูกด้วยระยะ
2.5×2.5 หรือ 3×3 เมตร ขุดหลุมกว้าง 50×50×50 เซนติเมตร
รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกประมาณ 1-2 กิโลกรัม ผสมกับดินชั้นบน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน ค่อยนำต้นกล้ามะละกอมาปลูก
เสร็จแล้วพูนดินกลบโคนต้นกล้าให้เป็นแบบหลังเต่า
คลุมด้วยเศษฟางแห้งเพื่อเก็บความชื้น ส่วนการให้น้ำหลังจากปลูกแล้วประมาณ 2
สัปดาห์ควรให้น้ำวันละ 1 ครั้ง
ส่วนการให้ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ทุกๆ 1 เดือน
ตลอดอายุการเจริญเติบโตของมะละกอ ส่วนการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น ไม่แนะนำให้ใช้จอบเพราะอาจทำให้กระเทือนถึงราก
ทำให้มะละกอชะงักการเจริญเติบโตได้ อาจใช้วิธีถอนออกหรือใช้เครื่องตัดหญ้าก็ได้
พอถึงช่วงหน้าฝนให้ทำทางระบายน้ำออกเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า
การเก็บเกี่ยวมะละกอพันธุ์
“ศรีราชภัฏ”
สำหรับมะละกอพันธุ์
“ศรีราชภัฏ”หากเราดูแลรักษาให้ดี จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 5 เดือนเป็นต้นไป
โดยสังเกตที่ผิวของสีผลจะเปลี่ยนไปคือ
ผิวของมะละกอจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวอ่อน หรือเมื่อปรากฏแต้มสีเหลืองบริเวณปลายผลก็สามารถเก็บได้
ในการเก็บผลมะละกอ ให้ใช้มีที่คมหรือกรรไกรตัดขั้วผล และไม่แนะนำให้ใช้มือบิด
เพราะจะทำให้เชื้อราเข้าทำลายจากแผลทางขั้วผลได้
บางทีอาจถึงขึ้นทำให้ต้นเน่าเสียหายได้
สุดท้ายแล้วหากใครสนใจที่จะปลูก
หรือจะสั่งซื้อต้นกล้ามะละกอสายพันธุ์ “ศรีราชภัฎ” ที่ว่านี้ ทางมหาวิทยาลัยก็มีจำหน่ายอยู่ที่ต้นกล้าละ
10 บาท ส่วนเมล็ดมะละกอราคาจะอยู่ที่เมล็ดละ 1 บาท (จัดส่งทางไปรษณีย์)
หรือจะสอบถามรายละเอียดโดยตรงได้ที่ รศ.ดร. รภัสสา จันทาสี
มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โทร. 089 063-2770
ที่มา:
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน