ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เลือกเมล็ดพันธุ์มะละกอ

การคัดเลือกเมล็ดมะละกอมาทำพันธุ์

หัวใจสำคัญของการทำสวน “มะละกอ”ให้ประสบความสำเร็จเราต้องเตรียมการตั้งแต่การเริ่มคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพ รวมถึงการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ซึ่งจะอยู่ประมาณ 8-12 เดือน และในบทความนี้ผมก็มีอีกหนึ่งเทคนิคดีๆมากฝากกันเช่นเคยครับ เป็นวิธีการคัดเลือกเมล็ดมะละกอเพื่อมาทำพันธุ์ มีหลักพิจารณาอย่างไรมาดูกันครับ

วิธีที่ 1 : มะละกอที่เหมาะจะนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ ต้องเป็นมะละกอที่มีผลขนาดใหญ่ สมบูรณ์ และต้องสุกแก่เต็มที่ โดยให้แบ่งผลมะละกอตามขวางออกเป็น 3 ส่วน โดยใช้มีดที่คมและสะอาดตัดตามแนวที่แบ่งไว้ จะได้มะละกอ 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้าย ส่วนการเลือกเมล็ดพันธุ์ให้เลือกเฉพาะส่วนกลางของผลเท่านั้น ซึ่งหากเราสังเกตให้ดีจะพบว่า เมล็ดมะละกอจะมี 2 ลักษณะ คือ บางเมล็ดจะมีเปลือกด้านในสีดำเข้ม และบางเมล็ดจะมีสีน้ำตาลคละกันอยู่ ให้เราเลือกเฉพาะเมล็ดสีดำเท่านั้น จากนั้นนำมาล้างให้เยื่อหุ้มคล้ายวุ้นหลุดออกจนสะอาดดีแล้ว ให้นำไปผึ่งลมให้แห้ง แต่ห้ามนำไปผึ่งแดดเพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง  เมื่อเมล็ดแห้งสนิทดีแล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นที่ช่องแช่ผักหรือนำไปลงถุงเพาะชำได้เลย

วิธีที่ 2 : ให้เลือกมะละกอที่มีผลใหญ่สมบูรณ์ตามที่กล่าวไว้ในวิธีที่หนึ่ง จากนั้นนำมาผ่าครึ่งเอาเมล็ดแช่น้ำได้เลย และให้เราเลือกเอาเฉพาะเมล็ดมะละกอที่จมน้ำ ส่วนเมล็ดไหนที่ลอยน้ำก็ให้คัดออก จากนั้นให้นำเมล็ดมะละกอที่จมน้ำไปผึ่งลมพอแห้ง เมื่อเมล็ดแห้งสนิทดีแล้วจึงนำเมล็ดทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น เพราะ”การเก็บรักษาเมล็ดมะละกอไว้ในตู้เย็นจะทำให้เปอร์เซ็นต์ การเป็นมะละกอต้นกะเทยสูงขึ้น

เทคนิคทำให้เมล็ดมะละกองอกเร็วขึ้น

สำหรับเทคนิคที่ว่านี้ผมแอบได้มาจากลุงที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่งในหมู่บ้าน โดยท่านบอกว่า ถ้าอยากให้เมล็ดมะละกองอกเร็วขึ้น “ต้องทำลายระยะพักตัวโดยวิธีแช่น้ำร้อนเสียก่อน” แต่น้ำร้อนที่ว่านี้ เอาเป็นว่าร้อนพอมือเราทนได้ก็แล้วกันครับ แล้วให้นำเมล็ดมะละกอที่คัดเลือกไว้ลงแช่ในน้ำร้อนดังกล่าว กวนให้หมุนวนในน้ำร้อน เพื่อให้เมล็ดมะละกอได้รับความร้อนอย่างสม่ำเสมอทั่วทุกเมล็ด ประมาณ 5 นาที แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นก็นำไปเพาะลงไปกระถางหรือถุงเพาะชำได้เลยครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ...