ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลูกมะละกอช่วงไหนให้ขายได้ราคาแพง?

     ปลูกมะละกอช่วงไหนให้ขายได้ราคาแพง?..เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยที่หลายๆคนคงอยากรู้ แต่สำหรับคนทำสวนมะละกออยู่แล้วก็น่าจะรู้ดีนะครับ

มะละกอฮอลแลนด์
    สำหรับเรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าสู่กันฟังในวันนี้ขออิงจากประสบการณ์ที่ได้ปลูกมะละกอฮอลแลนด์มาก็หลายรุ่นหลายฤดูกาล ให้ทุกท่านได้รับรู้พอเป็นแนวทาง แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามะละกอเป็นพืชที่มีอายุกลางๆไม่ถึงกับเป็นพืชระยะสั้นมากคือปลูกเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานเกือบๆห้าปีถ้านับรวมคอสอง (ต้นเก่า) โดยเฉพาะมะละกอฮอลแลนด์ถือว่าเป็นมะละกอที่นิยมรับประทานผลสุกและเป็นผลไม้เศรษฐกิจคู่กับประเทศไทยมายาวนานเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก


    มะละกอฮอลแลนด์จะให้ผลสุกในระยะเวลาประมาณ 8 เดือนตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดปลูก และจะขาดตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน เดือนตุลาคม ทำให้ผลผลิตช่วงนี้จะมีราคาสูง ซึ่งราคากลางตลาดไทและตลาดสี่มุมเมืองจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 50-80 บาทขึ้นไปเลยทีเดียว ส่วนราคาหน้าสวนขายแบบคัดตามเกรดจะอยู่ราวๆ 20 – 40 บาท
    เพราะฉะนั้นถ้าอยากปลูกมะละกอให้ผลผลิตออกในช่วงแพงคือให้ได้เก็บผลผลิตจำหน่ายตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เราก็นับถอยหลังไปอีก 8 เดือนคือให้เริ่มปลูกในช่วงปลายเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน ก็จะได้จำหน่ายในช่วงแพงนั่นเอง




    ทำไมมะละกอช่วงนี้ถึงมีราคาแพง? อีกหนึ่งคำถามที่ผมคิดว่าหลายคนคงสงสัยกันแน่นอน อย่างที่ผมได้บอกไปถ้าอยากให้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงที่มีราคาแพงเราต้องปลูกในช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน บังเอิญช่วงเวลาที่ว่านี้เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวและจะต่อเนื่องไปจนถึงหน้าแล้งพอดี ถ้าเราเริ่มปลูกมะละกอในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก็จะเริ่มติดตอกออกผลในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ต่อเนื่องไปตลอด ซึ่งจะเข้าสู่ปลายฤดูหนาวและเป็นช่วงหน้าแล้ง ระยะที่มะละกอกำลังติดดอกออกผลนี้ถือว่าสำคัญมาก ถ้าหากเราไม่มีการดูแลและไม่มีการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ หรือปล่อยให้มะละกอขาดน้ำขาดธาตุอาหาร จะทำให้มะละกอดอกร่วง ผลฝ่อและร่วง เกิดอาการที่เรียกว่าต้นมะละกอขาดคอ และที่สำคัญสภาพอากาศที่แห้งแล้งในช่วงติดดอกอออกผล ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเหลือน้อยทำให้เกสรฝ่อขั้วดอกหลุดร่วงง่ายไม่ติดผลต่อเนื่องนั่นเองครับ 


    เพราะฉะนั้นแล้วในระยะที่มะละกอกำลังติดดอกออกผลควรหมั่นใส่ปุ๋ยทุก 10 – 15 วันในปริมาณที่พอเหมาะตามความสมบูรณ์ของต้น ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีในระยะติดดอกออกผลให้เน้นสูตร 8-24-24 บวกกับปุ๋ยมูลค้างคาวหรือปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือถ้าสวนเรามีการเตรียมดินที่ดี ดินมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้นมะละกอสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว ให้ใส่แค่ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวก็ได้ ไม่ควรเน้นปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้ดินเป็นกรดและเสื่อมสภาพได้ และที่สำคัญควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวันหรือวันเว้นวัน ด้วยการให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ หรือมินิสปริงเกอร์ ให้เป็นละอองฝอยกระจายไปถึงช่อดอกเพื่อเสริมความชุ่มชื้นในบรรยากาศอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงหน้าฝน เพียงเท่านี้มะละกอของเราก็จะติดผลอย่างต่อเนื่องและได้เก็บผลผลิตจำหน่ายในช่วงฤดูกาลที่มะละกอกำลังขาดตลาด มีราคาแพงนั่นเองครับ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ