ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สายพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกเพื่อการค้า

5 สายพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกเป็นการค้า

หากพูดถึงเรื่องมะละกอที่ปลูกในบ้านเรา ก็มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ ทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์มะละกอที่คิดค้นดัดแปลงสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่จากนักวิชาการต่างๆ แต่หลักๆแล้ว “มะละกอ” ที่นิยมปลูกในเชิงธุรกิจหรือปลูกเพื่อการค้าก็มีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์มะละกอที่ตลาดมีความต้องการสูง เป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรทั่วไป ดังนี้

1. มะละกอพันธุ์แขกดำ นิยมปลูกกันมากในแทบทุกภาคของประเทศไทย เป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบสั้น ใบมีสีเขียว เนื้อในหนากว่ามะละกอพันธุ์อื่นๆ ผลยาวรี ขนาดผลมีส่วนหัวและท้ายของผลเกือบเท่ากัน ผิวขรุขระเล็กน้อย ผลสุกมีรสหวาน น้ำหนักผลประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัม มีเมล็ดน้อยช่องว่างภายในผลแคบ เหมาะที่จะทำส้มตำ

2. มะละกอพันธุ์โกโก้ เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์มะละกอพันธุ์ที่นำมาปลูกนานแล้ว ลำต้นเล็กๆ จะมีจุดประสีม่วง ลักษณะผล ส่วนปลายผลเล็กเรียว ส่วนหัวผลใกล้ขั้วมีลักษณะเป็นทรงกระบอกใหญ่ ผิวสีเขียว ผลค่อนข้างเรียบช่องระหว่างผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน ช่องว่างภายในผลกว้าง สุกแล้วเนื้อสีแดงหรือส้ม เป็นมะละกอที่เหมาะสำหรับบริโภคสุก

3. มะละกอพันธุ์ปากช่อง1 จัดว่าเป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่สถานที่วิจัยปากช่อง อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ได้ผสมขึ้น จากการนำเอามะละกอสายพันธุ์ซันไรส์ โซโล จากประเทศไต้หวันมาทำการปลูกและผสมพันธุ์ตัวเองอยู่ 5 ชั่วอายุ ได้เป็นมะละกอที่มีลักษณะต้นเตี้ย ให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน ติดผลค่อนข้างดกคือ ให้ผลประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ผลลักษณะกลมขนาดเล็กเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอย่างมาก เนื้อกรอบสีส้มหนา ผลสุกจนมีผิวสีเหลืองทั้งผล และมีรสชาติหอมหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลค่อนข้างสูง แถมยังสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้นาน โดยที่มีรสหวานเหมือนเดิมและเนื้อก็ไม่เละด้วย นอกจากนี้ชาวสวนยังสามารถเพิ่มขนาดของผลให้ใหญ่ขึ้น คือให้มีน้ำหนักถึง 600 กรัมต่อผลได้ ถ้าหากตลาดต้องการ โดยการเด็ดช่อดอกด้านข้างออกเหลือเพียงดอกกลางไว้ ก็จะได้มะละกอผลที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ และก็มีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นพันธุ์มะละกอที่ค่อนข้างมีความต้านทานต่อโรคต่างๆได้ดี

4. มะละกอสายพันธุ์น้ำผึ้ง เป็นมะละกอที่มีผลค่อนข้างโต ผลด้านขั้วจะเล็กแล้วขยายโตขึ้นบริเวณใกล้ปลายผล เปลือกผลสีเขียว ผลสุกจะมีเนื้อสีส้มปนเหลืองหรือสีส้มเนื้อรสหวาน มีก้านใบสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่ามะละกอแขกดำแต่ใบจะบางกว่า และมีจำนวนแฉกของใบน้อยกว่ามะละกอแขกดำและมะละกอพันธุ์โกโก้

5. มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ เป็นสายพันธุ์มะละกอที่นิยมบริโภคและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผลดิบหรือผลสุก เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เป็นสายพันธุ์มะละกอที่ให้ผลผลิตสูงมาก คือหากเรามีการดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างดี จะได้ผลผลิตประมาณ 100 กิโลกรัม/ต้น เลยทีเดียวครับ และสุดท้าย “มะละกอฮอลแลนด์” ยังเป็นสายพันธุ์มะละกอที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรที่ทำสวนมะละกอในปัจจุบันได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าหากสวนไหนปลูกมะละกอฮอลแลนด์ไว้ รับรองไม่มีขาดทุน มีแต่กำไรล้วนๆครับ


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ