ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80

ทำความรู้จัก “มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80” สำหรับชาวสวนมะละกอที่ปลูกกันในเชิงเศรษฐกิจหลายๆคน คงจะรู้จักกันดีถึงเรื่องราวของ “มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80”   ซึ่งถือว่าเป็นมะละกอพันธุ์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ เป็นมะละกอที่มีรูปร่างยาวรี เนื้อหนา เป็นมะละกอพันธุ์ลูกผสมระหว่างมะละกอพันธุ์ฟลอริด้า ทอเลอแลนด์ กับพันธุ์แขกดำ มีลักษณะที่โดดเด่นประจำพันธุ์คือ ดอกจะเริ่มบานเมื่ออายุ 74 วัน หลังปลูก ลำต้นที่สมบูรณ์จะสูงประมาณ 1.3 เมตร เมื่ออายุประมาณ 7 เดือนเท่านั้น ผลมีรูปทรงรียาว น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 700 กรัม ผลแก่จะมีเนื้อสีแดงเข้ม มีรสหวาน เนื้อกรอบอร่อย ไม่เละ และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว โดยเฉลี่ยความหวานจะอยู่ที่ 13-14 องศาบริกซ์ ให้ผลผลิตสูงถึง 5-6 ตัน/ไร่ และเป็นสายพันธุ์มะละกอที่ต้านทานโรคไวรัสจุดวงแหวนได้ดี เปลือกหนา ผิวมัน และไม่ช้ำง่ายในขณะขนส่ง เป็นที่ต้องการของตลาด จะปลูกไว้รับประทานเองหรือปลูกไว้ขายดิบหรือสุกก็ได้ทั้งนั้นครับ

มะละกอพันธุ์ “ศรีราชภัฎ”

มะละกอสายพันธุ์ใหม่ “ศรีราชภัฎ” สำหรับเมนู “ส้มตำ” จัดว่าเป็นอาหารโปรดของผมเลยก็ว่าได้ บางวันจัดไปเกือบๆสามมื้อเลยทีเดียว และสูตรเด็ดที่ผมทำจะเป็นส้มตำสูตร “อีสาน” เผ็ดๆ รสชาติออกเปรี้ยวนิดๆ แกล้มด้วยยอดผักบุ้งอ่อน ..แซ่บ..แบบน้ำตาไหล! แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะนำมาฝากในวันนี้หรอกนะครับ เพราะผมเพิ่งได้เจอข้อมูลดีๆเกี่ยวกับมะละกอสายพันธุ์ใหม่ เป็นพันธุ์มะละกอที่สามารถต้านทานโรคจุดวงแหวนซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสได้ดีอีกสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งก็เป็นผลงานชิ้นยอดของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามใกล้ๆบ้านผมนี่เอง และแน่นอนสำหรับอาจารย์ผู้คิดค้นและทดลองหลักๆก็คือ รศ.ดร. รภัสสา จันทาศรี รองคณะบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราภัฎมหาสารคาม และท่านยังเป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยมะละกอและพัฒนามะละกอสำหรับบริโภคสดจังหวัดมหาสารคามอีกด้วย ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลว่า มะละกอสายพันธุ์ใหม่ที่ว่านี้ ใช้ชื่อว่า มะละกอพันธุ์“ศรีราชภัฎ”   เกิดจากการกลายพันธุ์มาจากมะละกอพันธุ์ครั่งเนื้อแดงที่ปลูกบริเวณสถานีวิจัยพันธุ์พืชเพาะเลี้ยง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม มีลักษณะที่โดดเด่นคือเป็นมะละกอพันธุ์ใหม่ที่มีความต้านทานต่อโรคใบจุดได้...

มะละกอพันธุ์ “ศรีราชภัฎ”

วิธีปลูกมะละกอพันธุ์ “ศรีราชภัฎ” สำหรับมะละกอพันธุ์ “ ศรีราชภัฎ"    ของราชภัฎมหาสารคามจัดว่าเป็นสานพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคจุดวงแหวนได้เป็นอย่างดี ในการปลูกแนะนำให้เพาะเมล็ดลงถุงเพาะชำก่อน โดยการเตรียมดินร่วน + แกลบเผา + ทรายหยาบ ผสมเข้าด้วยกันในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 จากนั้นกรอกใสถุงเพาะชำขนาด 4×4 หรือ 4×6 นิ้ว รดน้ำในถุงเพาะชำให้ชุ่ม เสร็จแล้วให้นำเมล็ดมะละกอที่เตรียมไว้มาหยอดลงไป ใช้ไม้เล็กๆเท่าก้านไม้ขีดกดให้ลึกประมาณ ½ ข้อมือ ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำตามอีกหนึ่งครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน เมล็ดมะละกอก็จะเริ่มงอกให้เห็น จากนั้นให้เราดูแลต่ออีกประมาณ  30 วัน ก็สามารถนำลงปลูกที่แปลงได้ หลุมสำหรับปลูกมะละกอพันธุ์ “ศรีราชภัฎ” สำหรับแปลงปลูกในพื้นที่ลุ่มให้ไถพรวนแล้วทำการยกร่องปลูกด้วยระยะ 2.5×2.5 หรือ 3×3 เมตร ขุดหลุมกว้าง 50×50×50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกประมาณ 1-2 กิโลกรัม ผสมกับดินชั้นบน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน ค่อยนำต้นกล้ามะละกอมาปลูก เสร็จแล้วพูนดินกลบโคนต้นกล้าให้เป็นแบบหลังเต่า คลุมด้วยเศษฟางแห้งเพื่อเก็บความชื้น ส่...

คัดเลือกเมล็ดพันธุ์มะละกอ

วิธีคัดเลือกเมล็ดพันธุ์มะละกอที่ถูกต้อง “มะละกอ”   จัดว่าเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ และกำลังมาแรงไม่แพ้ไม้ผลชนิดอื่นๆ สามารถปลูกได้เกือบทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่หากเราจะปลูกในเชิงการค้ากันจริงๆ ก็ต้องเตรียมการและศึกษารายละเอียดตั้งแต่เริ่มคัดเลือกเมล็ดเพื่อทำพันธุ์ เพราะในการปลูกมะละกอเชิงการค้า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกให้ได้ต้นมะละกอที่สมบูรณ์เพศจริงๆ (มะละกอต้นกะเทย)  เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกต้นมะละกอที่สมบูรณ์และมีผลดกในสวนของเราเอง แล้วทำการดูแลรักษาเอาใจใส่อย่างจริงจัง จากนั้นให้ใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้าขาวบางคลุมไปที่ดอกสมบูรณ์เพศของต้น (ดอกสมบูรณ์เพศที่จะบานในวันรุ่งขึ้น) แขวนป้ายพร้อมระบุวันที่เอาไว้ ซึ่งจะใช้เวลาในการคลุมถุงกระดาษประมาณ 7 วัน ค่อยถอดถุงออก ซึ่งหากเป็นมะละกอพันธุ์แขกดำหนึ่งผล จะได้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 400-1 , 000 เมล็ด แต่หากเป็นมะละกอพันธุ์ปากช่อง ก็จะได้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 150-300 เมล็ด และการเก็บเมล็ดพันธุ์มะละกอ จะต้องเลือกเก็บจากผลแก่จัดที่มีผิวสีส้มหรือสีเหลือง และควรระวัง...

เทคนิคเพิ่มผลผลิตมะละกอ

การปลูกมะละกอต้นเอน เก็บง่าย ได้ผลผลิตสูง อีกหนึ่งเทคนิคดีๆในการเพิ่มผลผลิตมะละกอ แถมยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการเก็บเกี่ยว ช่วยเพิ่มผลผลิต ที่สรรหามาฝากกันในบทความนี้ เป็นเทคนิคการปลูกมะละกอให้เป็น “มะละกอต้นเอน” มีเทคนิคและวิธีการอย่างไร..มาดูกันครับ เทคนิคปลูก “มะละกอต้นเอน” อันดับแรกให้เราคัดเลือกพันธุ์มะละกอเพศกะเทย โดยเลือกเอาเฉพาะเมล็ดส่วนกลางของผลมะละกอที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรคมาปลูกโดยขุดหลุมปลูกกว้างประมาณ 50×50 เซนติเมตร รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยให้ระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 1.5-1.8 เมตร ส่วนระยะห่างระหว่างแถวให้อยู่ประมาณ 2.5 เมตร และเมื่อปลูกมะละกอได้เจริญเติบโตระยะหนึ่ง คือเมื่อต้นมะละกอสูงประมาณ 1 ศอก ให้เราปักหลักไม้ไผ่ข้างต้นมะละกอห่างประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำเชือกฟางมาคล้องส่วนกลางของต้นมะละกอโยงกับไม้หลักที่ปักเอาไว้ ให้มีลักษณะเอน 45 องศา ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน จากนั้นให้เราเปลี่ยนมาคล้องที่ส่วนยอดของต้นมะละกอ โดยทำในลักษณะนี้ประมาณ 4 ครั้ง และเมื่อระยะที่มะละกอออกผล ส่วนของลำต้นก็จะเอนลงให้เราเก็บผลผลิตได้อย่างง่าย กลายเป็น “มะละกอต้นเอน” อ...

เพศมะละกอ

วิธีบังคับเพศมะละกอให้เป็นต้นกะเทย สิ่งสำคัญอันดับแรกๆที่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอต้องศึกษาและเรียนรู้คือเรื่องของ “เพศมะละกอ” เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงเพิ่มผลผลิตสร้างรายได้ต่อไป และเพศมะละกอที่เราควรรู้จักก็มีอยู่ 3 อย่างคือ - ต้นมะละกอตัวผู้ จะเป็นต้นมะละกอที่ให้ช่อดอกเป็นช่อยาว มีดอกเดี่ยวหลายดอก แต่จะไม่ติดผล ควรจะตัดทิ้งหรือทำการเปลี่ยนเพศเสียใหม่ - ต้นมะละกอตัวเมีย จะเป็นต้นมะละกอที่ให้ผลกลมและป้อม เนื้อจะบาง และมีไส้กลวง ให้ผลผลิตน้อยมาก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด - ต้นมะละกอกะเทย จะเป็นต้นมะละกอที่ให้ผลยาวและผลจะมีขนาดใหญ่ มีเนื้อหนา รสชาติดี เป็นที่นิยมของตลาดอย่างมาก ให้ผลผลิตสูง ซึ่งในผลของมะละกอกะเทยก็จะมีทั้งเมล็ดที่เป็นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และต้นกะเทยรวมกันอยู่ภายใน วิธีบังคับ “เพศมะละกอ” ให้เป็นต้นกะเทย จากความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ผมได้ศึกษาเรียนรู้มา เกี่ยวกับวิธีบังคับเพศมะละกอให้เป็นต้นกะเทยนั้น เราต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก คือก่อนที่เราจะนำต้นกล้ามะละกอลงปลูกในแปลง ให้เราตัดรากแก้วทิ้งประมาณ 5 เซนติเมตร หรือประมาณ 2 ข้อมือ คือให้วัดจ...

เลือกเมล็ดพันธุ์มะละกอ

การคัดเลือกเมล็ดมะละกอมาทำพันธุ์ หัวใจสำคัญของการทำสวน “มะละกอ” ให้ประสบความสำเร็จเราต้องเตรียมการตั้งแต่การเริ่มคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพ รวมถึงการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ซึ่งจะอยู่ประมาณ 8-12 เดือน และในบทความนี้ผมก็มีอีกหนึ่งเทคนิคดีๆมากฝากกันเช่นเคยครับ เป็นวิธีการคัดเลือกเมล็ดมะละกอเพื่อมาทำพันธุ์ มีหลักพิจารณาอย่างไรมาดูกันครับ วิธีที่ 1 : มะละกอที่เหมาะจะนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ ต้องเป็นมะละกอที่มีผลขนาดใหญ่ สมบูรณ์ และต้องสุกแก่เต็มที่ โดยให้แบ่งผลมะละกอตามขวางออกเป็น 3 ส่วน โดยใช้มีดที่คมและสะอาดตัดตามแนวที่แบ่งไว้ จะได้มะละกอ 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้าย ส่วนการเลือกเมล็ดพันธุ์ให้เลือกเฉพาะส่วนกลางของผลเท่านั้น ซึ่งหากเราสังเกตให้ดีจะพบว่า เมล็ดมะละกอจะมี 2 ลักษณะ คือ บางเมล็ดจะมีเปลือกด้านในสีดำเข้ม และบางเมล็ดจะมีสีน้ำตาลคละกันอยู่ ให้เราเลือกเฉพาะเมล็ดสีดำเท่านั้น จากนั้นนำมาล้างให้เยื่อหุ้มคล้ายวุ้นหลุดออกจนสะอาดดีแล้ว ให้นำไปผึ่งลมให้แห้ง แต่ห้ามนำไปผึ่งแดดเพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง  เมื่อเมล็ดแห้งสนิทดีแล้วจึงนำเมล็...