ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

รักษาโรคด้วย “มะละกอ”

“มะละกอ” นอกจากจะนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังสามารถนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งยังนำไปทำเป็นยาช่วยย่อย สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้ และยังมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทความก่อนๆ แต่สำหรับบทความนี้ ขอแนะนำสรรพคุณทางยาที่มีอยู่ในมะละกอ ที่มีมากมาย จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยเลยก็ว่าได้ มีรายละเอียดดังนี้ครับ
รักษาโรคด้วย "มะละกอ"
สรรพคุณทางยาของมะละกอ

- รากมะละกอ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
- เปลือกมะละกอ ใช้ทำน้ำยาขัดรองเท้าได้
- ผลสุกของมะละกอ มีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และใช้เป็นยาระบายได้
- ยางจากผลดิบ ใช้เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน และใช้เป็นยาฆ่าพยาธิได้

“มะละกอ” ใช้รักษาอาการต่างๆ ดังนี้

เป็นยาระบาย ให้ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้ของว่าง
เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ให้ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัดปริมาณไปประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง หรือใช้เป็นผักจิ้มก็ได้
ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ให้รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำ เพราะมะละกอจัดว่าเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูง
รักษาอาการเท้าบวม เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวม จะลดอาการบวมลงได้
แก้เคล็ดขัดยอก ให้ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอกเอาไว้จะช่วยบรรเทาอาการได้
โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน ให้บ่งปากแผลเปิดออก จากนั้นเอายางมะละกอดิบใส่ หนามจะหลุดออก หรือหากคันเพราะพิษของหอยคัน ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
รักษาอาการปวดตามร่างกาย ให้รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ หรือหากปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ให้ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วม ดองไว้ 7 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อได้ หากจะใช้ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบก็ได้
สำหรับแผลน้ำร้อนลวก หรือแผลพุพอง ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล โดยเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง หรือหากเป็นแผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปื่อย ตำพอกที่แผล สำหรับแผลพุพองให้ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง อาการเหล่านี้ก็จะหายไป
เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ อาการผื่นคันก็จะหายไป หรือหากเป็นโรคกลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปื่อย ให้ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้ง จะสามารถฆ่าเชื้อราและจะหายจากโรคผิวหนังดังกล่าวได้ครับ

แหล่งอ้างอิง
- http://www.philippineherbalmedicine.org/papaya.htm

- http://yathai.blogspot.com/2010/09/blog-post_10.html

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ