ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สารอาหารต่างๆในมะละกอ

รวมสารอาหารที่มีอยู่ใน “มะละกอ”


ประโยชน์ของมะละกอ

“มะละกอ” ที่เรานิยมปลูกกันโดยทั่วไป นอกจากจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังประกอบด้วยสารอาหารต่างๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น พอดีว่าผมมีปลูกไว้หลังบ้าน 4-5 ต้น พอได้อ่านเจอข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของ “มะละกอ” ก็เลยมีโครงการว่าจะทำสวน “มะละกอฮอนแลนด์” ไว้สักแปลง แต่ตอนนี้ขอรวบรวมข้อมูลและทดลองปลูกทีละน้อยก่อน และข้อมูลดีๆเกี่ยวกับมะละกอที่ว่านี้ อยู่ตรงหน้าผู้อ่านแล้วครับ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวัดปริมาณทางด้านคุณค่าทางโภชนาการของ “มะละกอ” พบว่า ในเนื้อมะละกอสุกปริมาณ 100 กรัม จะประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้

- โปรตีน      0.5 กรัม
- ไขมัน       0.1 กรัม
- เหล็ก       0.6 มิลลิกรัม
- แคลเซียม  24 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
- โซเดียม      4 มิลลิกรัม
- กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม
- ไทอะมีน          0.04 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน               0.4 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน   0.04 มิลลิกรัม

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ เพราะในยางมะละกอ ยังมีเอนไซม์อยู่กลุ่มหนึ่งเรียกว่า “พาเพน (Papain)” ซึ่งปกติจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์เป็น Proteolytic enzyme (เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน) อยู่ 4 ชนิด คือ Papain, Chymopapain A และ B และ Papaya peptidase A โดย Chymopapain ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดใน “ยางมะละกอ” รองลงมาคือ Papain ซึ่งมีประมาณต่ำกว่าร้อยละ 10 และ Papaya peptidase A ซึ่งจะมีปริมาณน้อยที่สุด ส่วนเอนไซม์ Chymopapain จะมีคุณสมบัติที่ทนความร้อนและทนต่อสภาพกรดได้ดี และเอนไซม์ตัวนี้แหละครับที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการหมักเนื้อ เพราะเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เนื้อที่เราหมักมีความนุ่มอร่อย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเอนไซม์ต่างๆเหล่านี้ในยางมะละกอจากส่วนที่เป็นก้าน ใบ และผลดิบของมะละกอ และ Papain เอนไซม์ ยังจัดว่ามีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในกิจการอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนี้

- ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยา เป็นองค์ประกอบสำคัญของตัวยาที่ช่วยย่อยอาหาร และช่วยรักษาแผลติดเชื้อต่างๆ นอกจากนี้ Papain เอนไซม์ ยังมีคุณสมบัติที่ทำให้เลือดแข็งตัว และยังใช้เป็นยาฆ่าพยาธิในลำไส้ได้อีกด้วย

- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์และปลา เพราะจะทำให้เนื้อสัตว์ต่างๆนั้นเกิดความ นุ่ม เปื่อย มีรสชาติอร่อย เมื่อนำมาประกอบอาหาร

- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเหล้า เบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ โดย Papain เอนไซม์ จะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สารละลายใสไม่ขุ่น เมื่อเก็บไว้นานๆ หรือเก็บในที่อุณหภูมิต่ำๆ

- ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง โดยผสม Papain เอนไซม์ ในน้ำยาแช่หนัง จะทำให้หนังเรียบและนุ่ม


- ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้า จะใช้ Papain เอนไซม์ ฟอกไหมให้หมดเมือก เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ