ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้




น้ำส้มควันไม้
น้ำส้มควันไม้ เป็นของเหลวที่ได้จากการกลั่นตัวของควันที่ควบแน่นให้เป็นหยดน้ำ ซึ่งจะมีกลิ่นไหม้เหมือนควันไฟ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรด อะซิติค  มีความเป็นกรดต่ำ มีสีส้มหรือสีน้ำตาลแกมแดง การผลิตน้ำส้มควันไม้ วิธีการดักเก็บน้ำส้มควันไม้จะให้ควันวิ่งผ่านท่อไม้ไผ่ยาว 4-6 เมตร เมื่อได้น้ำส้มควันไม้แล้วทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกมีฝาปิดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในที่ที่ไม่ถูกแสงแดด ไม่สั่นสะเทือนห้ามเปิดฝาทิ้งไว้เพราะสารต่างๆจะระเหย
น้ำส้มควันไม้

ประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้

1. ในด้านอุตสาหกรรม
-ใช้ผลิตสารระงับกลิ่นตัว
- ใช้เป็นสารปรับผิวนุ่ม ใช้โดยตรงทางผิวหนังหรือผสมอาบน้ำ
- ใช้ในอุตสาหกรรมอาหรรมควัน
- ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้า
- ใช้ผลิตสารป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
- ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง ยาฆ่าเชื้อ ไทฟอยด์ อาหารเสริมเพิ่มภูมิต้านทาน อาหารเสริมการทำงานของตับ
- ใช้ผลิตสารช่วยย่อย ( Prebiotic )

2. ใช้ในครัวเรือน
- ความเข้มข้น 100% ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนและไฟลวก รักษาน้ำกัดเท้าเชื้อราที่ผิวหนัง รักษาโรคเรื้อนของสัตว์
- ผสมน้ำ 20 เท่า ( 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) ราดหรือพ่นกำจัดปลวก ทาหน้ายางพารา เพื่อกำจัดเชื้อรา
- ผสมน้ำ 50 เท่า (400 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) ราดหรือพ่นกำจัดเชื้อรา และไส้เดือนฝอยในดิน ก่อนปลูกพืช 15 วัน
- ผสมน้ำ 100เท่า ( 200 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร) ราดพ่นกองขยะพื้นดอกสัตว์เพื่อกำจัดกลิ่น  และป้องกันไม่ให้แมลงวางไข่
- ผสมน้ำ 200 เท่า (100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) พ่นใบไม้เพื่อป้องกันแมลงและเชื้อราและราดโคนต้นไม้เพื่อเร่งราก หากใช้อัตราเข้มข้นกว่านี้ ทำให้ใบไหม้ได้
- ผสมน้ำ 500 เท่า ( 40 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร) แทนสารจับใบจะลด การใช้เคมี ได้ 50%

3. ใช้ในการเกษตร
- ผสมน้ำส้มควันไม้กับน้ำให้เจือจาง 1 ต่อ 500  1000 เท่า รดไม้ผลจะช่วยเพิ่มความหวาน
- ช่วยย่อยสลายปุ๋ยคอก ลดกลิ่น
- ถ่านที่แช่ไว้ในน้ำส้มควันไม้จะเป็นตัวปรับปรุงดินอย่างดี โดยการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียในดินที่คุณเป็นประโยชน์ต่อต้นพืช เนื่องจากถ่านมีรูพรุนจำนวนมากและมีแร่ธาตุสารอาหารอยู่ด้วย ทำให้เหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืช
- การใช้น้ำส้มควันไม้กับพืชควรใช้เวลาตอนเย็นจะเกิดประโยชน์ต่อต้นพืชมากกว่าในตอนกลางวัน
อ้างอิงจาก: เอกสารประกอบการฝึกอบรม ณ ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนบ้านแม่ระวาน ต.ยกกระบัตร อ.สามเงา จ.ตาก)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ