ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคของมะละกอที่ควรรู้

รู้ทันโรคของมะละกอ และการป้องกัน
สิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมะละกออย่างหนึ่ง ที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง นั่นก็คือโรคของมะละกอ การแก้ไขเยียวยามะละกอที่เกิดโรค ตลอดถึงการป้องกันไม่ให้เกิดโรคในมะละกอ และนี่ก็เป็นอีกบทความดีๆ มีสาระที่ผมได้ค้นคว้าหาข้อมูลมาฝากกันครับ
โรคสำคัญของมะละกอที่ควรรู้
1.โรคใบจุดวงแหวน (Papaya Ring Spot Virus)
มะละกอที่เป็นโรคนี้ ผลของมะละกอจะมีจุดคล้ายวงแหวน โดยมีอาการใบด่างเหลืองสลับเขียว โดยเฉพาะใบที่อยู่ส่วนบนของยอดของมะละกอ ใบอ่อนที่เกิดใหม่จะค่อยๆ เล็กลง ผิวของมะละกอที่เกิดโรค จะเห็นลักษณะวงแหวนขนาดต่างๆ กัน เรียงเป็นวงเห็นได้อย่างชัดเจน สาเหตุที่มะละกอเป็นโรคนี้ เกิดจากไวรัส PRSV แนวทางป้องกัน ขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอ ปลูกพันธุ์มะละกอที่ต้านทานต่อโรค และควรทำลายต้นที่แสดงอาการของโรครุนแรง เพื่อป้องกันการลุกลาม หรือการระบาดไปต้นอื่น
2.โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
มะละกอที่เป็นโรคนี้ จะมีลักษณะเป็นแผลรูปกลมเริ่มจากจุดเล็ก แล้วขยายใหญ่ขึ้น มะละกอจะมีแผลเป็นรอยบุ๋มลงไป ต่อมาบริเวณกลางแผลจะเห็นเป็นวงชั้นๆ สีน้ำตาลถึงดำ ตามอายุแผล อาจมองเห็นกลุ่มของสปอร์เชื้อราเป็นสีส้ม สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา (Colletotrichum gloeosporioides) การป้องกันกำจัดโรคเชื้อราชนิดนี้ ให้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ได้แก่ คาร์เบนดาซิม เบนโนมิล ไออาเบน ดาโซล แมนโคเซบ ก่อนการเก็บผลผลิต และในการเก็บเกี่ยวผลมะละกอ 2-3 ครั้ง ให้จุ่มผลมะละกอในน้ำร้อน หรือน้ำร้อนผสมสารเบนโนมิล หรือไออาเบนดา เพื่อป้องกันและทำลายเชื้อราดังกล่าว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ