ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020

มะละกอหลังตัดต้นทำสาว เลือกกิ่งแบบไหนให้ติดลูกดก! เก็บผลผลิตได้ยาวนาน!

❎วิธีการเลือกไว้กิ่งมะละกอฮอนแลนด์ หลังตัดต้นทำสาว ให้ติดลูกดก! เก็บผลผิตได้ต่อเนื่องยาวนาน! มะละกอฮอลแลนด์ สำหรับชาว สวนมะละกอ ก็น่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า ใน  การปลูกมะละกอ  แต่ละรุ่นหลังจากที่ปลูกลงแปลงประมาณ 7-8 เดือน ต้นมะละกอจะเริ่มให้ผลผลิต เมื่อเก็บ ผลผลิตมะละกอ จนหมดต้นและเข้าสู่ช่วงที่ผลผลิตหมดฤดูกาล หรือที่เรียกว่า "มะละกอหมดคอ" หรือ "มะละกอขาดคอ" เราจะต้องรอให้ต้นมะละกอให้ผลผลิตใหม่ในรอบปีถัดไป แต่ในระหว่างที่รอ ต้นมะละกออาจจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการให้ผลผลิตต่อเนื่องหลายปี ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรคในการเก็บเกี่ยวในรอบต่อไป เพราะต้องใช้บันไดปีนขึ้นไปเก็บ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ที่สวนของผม จึงมีการ  ตัดต้นทำสาวมะละกอ  ทุกครั้งหลังการเก็บผลผลิตเพียงหนึ่งรอบ โดยการตัดต้นให้แตกกิ่งใหม่ เพื่อให้ต้นมะละกอเตี้ยลงกลายเป็น  มะละกอต้นเตี้ย เป้าหมายหลักคือการเพิ่มผลผลิตจากต้นแม่เดิม โดยไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี มะละกอหลังตัดต้นทำสาว       การตัดต้นทำสาวมะละกอ  สามารถทำได้ง่ายๆเพียงเราวัดระยะจากโคนต้น (ต้นที่จะตัดทำสาว) ขึ้นมาประมาณ 1 เมตร แล...

เทคนิคดูแลสวนมะละกอหน้าแล้ง แห้งแต่ไม่เหี่ยว ผลผลิตดกเต็มต้น

    เรื่องราวเกษตรดีๆในวันนี้ ผมจะพาทุกท่านแวะชมสวนมะละกออีกแปลงที่ปลูกแบบหยอดเมล็ดลงดิน คือไม่ต้องเพาะใส่ถุงเพาะชำ หรือบางต้นก็แยกปลูกจากหลุมเพาะที่หยอดเมล็ดลงมากเกินไป     ที่เห็นในภาพด้านบนเป็นมะละกอฮอลแลนด์ที่ปลูกเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว อายุก็ประมาณ 11 เดือน พื้นที่ปลูกเป็นดินร่วนปนทราย ข้างห้วย ปลูกแบบง่ายๆคือขุดหลุมปลูกโดยไม่ได้รองพื้น ไม่ได้ไถ ไม่ได้ยกร่อง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความสูงต่างระดับเป็นคันนาเก่าขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง      เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทรายจึงระบายน้ำได้ดีเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชทุกชนิดจะปลูกอะไรก็งาม และที่สำคัญพื้นที่ตรงนี้เมื่อขุดลงไปจะมีเศษไม้แห้งเศษใบไม้แห้งที่ถูกเผาไฟกลายเป็นถ่านใต้ดินที่ทับถมกันมานานหลายปี มะละกอแปลงนี้มีประมาณ 70 ต้น จัดแนวปลูกเว้นทางเดินนิดหน่อยพอได้เดินชมสวนเล่นๆ เป็นสวนเกษตรที่ปลอดสาร แต่ที่สังเกตได้ชัดก็คือมะละกอแปลงนี้จะให้ผลผลิตดกต่อเนื่องแทบไม่ขาดคอ เพราะปกติมะละกอแปลงอื่นจะขาดคอผลร่วงหมดเนื่องจากเป็นช่วงหน้าแล้ง แต่มะละกอแปลงนี้ยังติดผลต่อเนื่องเนื่องจา...

ปลูกมะละกอฮอลแลนด์ง่าย ๆ ไม่ต้องเพาะถุง โตไว ผลผลิตนาน | เทคนิคจากประสบการณ์จริง

ปลูกมะละกอฮอลแลนด์อย่างง่ายๆ ไม่ต้องใส่ถุงเพาะ โตไว ให้ผลผลิตยาวนาน โดยทั่วไป วิธีปลูกมะละกอ ที่นิยมใช้กันมาก คือ การเพาะเมล็ดลงในถุงเพาะชำก่อน จากนั้นก็อนุบาลต้นกล้าจนมีใบจริงประมาณ 4-5 ใบ แล้วจึงย้ายปลูกลงแปลง วิธีนี้ช่วยให้สามารถคัดเลือกต้นที่แข็งแรงก่อนนำลงปลูกได้ อีกวิธีหนึ่งคือ การหยอดเมล็ดมะละกอลงแปลงปลูกโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านถุงเพาะชำ วิธีนี้ช่วยลดขั้นตอน ลดแรงงาน และทำให้ต้นมะละกอปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ตั้งแต่แรกปลูก ส่วนตัวแล้ว ผมมองว่าวิธีแรกค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลามากกว่า จึงได้ทดลอง ปลูกมะละกอ ทั้งสองวิธี เพื่อเปรียบเทียบข้อแตกต่าง และสรุปผลมาแบ่งปันกัน ดังนี้ครับ มะละกอฮอลแลนด์ ✅ วิธีที่ 1 : เพาะเมล็ดในถุงเพาะชำ   โดยเริ่มจากนำ เมล็ดมะละกอ จากผลสุกสดมาล้างเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออก จากนั้นนำไปเพาะลงถุงเพาะชำ ประมาณ 4-5 เมล็ดต่อถุง แล้วอนุบาลต้นกล้าเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จนต้นมีใบจริง 4-5 ใบ หรือมากกว่านั้น จึงนำไปปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้ตามปกติ มะละกอที่เพาะในถุงเพาะชำ ✅ วิธีที่ 2: ปลูกมะละกอจากเมล็ดโดยตรง เริ่มจากการนำเมล็ดมะละกอจากผลสุกสดมาล้างทำควา...

5 สาเหตุที่ทำให้มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม และวิธีแก้ปัญหาอย่างละเอียดจากประสบการณ์จริง

5 สาเหตุที่ทำให้มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม และวิธีแก้ปัญหาอย่างละเอียดจากประสบการณ์จริง มะละกอ  เป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย เพราะ มะละกอ เป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลผลิตในระยะเวลาสั้นๆ (ประมาณ 7-8 เดือนหลังปลูก) อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ชาวสวนมะละกอมักพบเจอก็คือโรค " มะละกอใบเหลือง " ซึ่งจะสร้างความเสียหาย ทำให้ต้นโทรม ใบร่วง และตายในที่สุด หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปสำรวจ 5 สาเหตุหลัก ที่ทำให้  มะละกอใบเหลือง พร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหาอย่างละเอียดจากประสบการณ์จริง เพื่อช่วยให้คุณสามารถดูแลสวนมะละกอของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ    มะละกอเกิดอาการใบเหลือง 1. การขาดธาตุไนโตรเจน (Nitrogen Deficiency) การขาดธาตุอาหารหลัก โดยเฉพาะไนโตรเจน (N) เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในมะละกอ ไนโตรเจนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช หากพืชขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการใบเหลือง โดยเริ่มจากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของต้น ต้นแคระแกร็น และโตช้า วิธีแก้ปัญหา •  ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (ยูเรีย): •  นำปุ๋ยยูเรีย 1-2 ช้อนแกงผสมกับน้ำ ...