ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลูกมะละกอช่วงไหนให้ขายได้ราคาแพง?

     ปลูกมะละกอช่วงไหนให้ขายได้ราคาแพง?..เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยที่หลายๆคนคงอยากรู้ แต่สำหรับคนทำสวนมะละกออยู่แล้วก็น่าจะรู้ดีนะครับ

มะละกอฮอลแลนด์
    สำหรับเรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าสู่กันฟังในวันนี้ขออิงจากประสบการณ์ที่ได้ปลูกมะละกอฮอลแลนด์มาก็หลายรุ่นหลายฤดูกาล ให้ทุกท่านได้รับรู้พอเป็นแนวทาง แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามะละกอเป็นพืชที่มีอายุกลางๆไม่ถึงกับเป็นพืชระยะสั้นมากคือปลูกเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานเกือบๆห้าปีถ้านับรวมคอสอง (ต้นเก่า) โดยเฉพาะมะละกอฮอลแลนด์ถือว่าเป็นมะละกอที่นิยมรับประทานผลสุกและเป็นผลไม้เศรษฐกิจคู่กับประเทศไทยมายาวนานเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก


    มะละกอฮอลแลนด์จะให้ผลสุกในระยะเวลาประมาณ 8 เดือนตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดปลูก และจะขาดตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน เดือนตุลาคม ทำให้ผลผลิตช่วงนี้จะมีราคาสูง ซึ่งราคากลางตลาดไทและตลาดสี่มุมเมืองจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 50-80 บาทขึ้นไปเลยทีเดียว ส่วนราคาหน้าสวนขายแบบคัดตามเกรดจะอยู่ราวๆ 20 – 40 บาท
    เพราะฉะนั้นถ้าอยากปลูกมะละกอให้ผลผลิตออกในช่วงแพงคือให้ได้เก็บผลผลิตจำหน่ายตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เราก็นับถอยหลังไปอีก 8 เดือนคือให้เริ่มปลูกในช่วงปลายเดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน ก็จะได้จำหน่ายในช่วงแพงนั่นเอง




    ทำไมมะละกอช่วงนี้ถึงมีราคาแพง? อีกหนึ่งคำถามที่ผมคิดว่าหลายคนคงสงสัยกันแน่นอน อย่างที่ผมได้บอกไปถ้าอยากให้ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงที่มีราคาแพงเราต้องปลูกในช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายน บังเอิญช่วงเวลาที่ว่านี้เป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวและจะต่อเนื่องไปจนถึงหน้าแล้งพอดี ถ้าเราเริ่มปลูกมะละกอในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก็จะเริ่มติดตอกออกผลในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ต่อเนื่องไปตลอด ซึ่งจะเข้าสู่ปลายฤดูหนาวและเป็นช่วงหน้าแล้ง ระยะที่มะละกอกำลังติดดอกออกผลนี้ถือว่าสำคัญมาก ถ้าหากเราไม่มีการดูแลและไม่มีการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ หรือปล่อยให้มะละกอขาดน้ำขาดธาตุอาหาร จะทำให้มะละกอดอกร่วง ผลฝ่อและร่วง เกิดอาการที่เรียกว่าต้นมะละกอขาดคอ และที่สำคัญสภาพอากาศที่แห้งแล้งในช่วงติดดอกอออกผล ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเหลือน้อยทำให้เกสรฝ่อขั้วดอกหลุดร่วงง่ายไม่ติดผลต่อเนื่องนั่นเองครับ 


    เพราะฉะนั้นแล้วในระยะที่มะละกอกำลังติดดอกออกผลควรหมั่นใส่ปุ๋ยทุก 10 – 15 วันในปริมาณที่พอเหมาะตามความสมบูรณ์ของต้น ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีในระยะติดดอกออกผลให้เน้นสูตร 8-24-24 บวกกับปุ๋ยมูลค้างคาวหรือปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรือถ้าสวนเรามีการเตรียมดินที่ดี ดินมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้นมะละกอสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว ให้ใส่แค่ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวก็ได้ ไม่ควรเน้นปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้ดินเป็นกรดและเสื่อมสภาพได้ และที่สำคัญควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวันหรือวันเว้นวัน ด้วยการให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ หรือมินิสปริงเกอร์ ให้เป็นละอองฝอยกระจายไปถึงช่อดอกเพื่อเสริมความชุ่มชื้นในบรรยากาศอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงหน้าฝน เพียงเท่านี้มะละกอของเราก็จะติดผลอย่างต่อเนื่องและได้เก็บผลผลิตจำหน่ายในช่วงฤดูกาลที่มะละกอกำลังขาดตลาด มีราคาแพงนั่นเองครับ.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริ...

วิธีสังเกตช่อดอก และแยกเพศมะละกออย่างง่ายๆ

หลังจากคลุกคลีอยู่กับพืชหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผักหวานป่า อินทผาลัม หรือแม้กระทั่งไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง และไผ่ตงลืมแล้ง ตามแนวคิดที่ว่า ถ้าเดินเข้าสวนของผมก็ต้องมีของกินของขายแทบทุกชนิดรวมอยู่ในที่ดินเพียงผืนเดียว โดยใช้พื้นที่เพียง 12 ไร่ ด้วยความคิดที่ไม่หยุดยั้งตามด้วยการกระทำที่ไม่หยุดนิ่ง จึงได้เริ่มปลูกมะละกอฮอนแลนด์ประมาณหนึ่งไร่กว่าๆ เริ่มตั้งแต่นำเมล็ดมาเพาะเอง (3 ต้น/1ถุงเพาะชำ) จนได้ต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ปลูกด้วยระยะห่าง 2.5 x 2.5 เมตร เริ่มปลูกช่วงปลายเดือนกรกฎาคม มาถึงตอนนี้ (ตุลาคม) อายุมะละกอฮอนแลนด์ก็ได้ประมาณ 3 เดือน ก็มาถึงช่วงสำคัญ นั่นก็คือการแยกเพศมะละกอเพื่อให้ได้ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย ตามภาษาชาวสวนมะละกอเขาเรียกกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ จะมี 3 เพศคือ  1. ต้นตัวผู้จะไม่ให้ผลผลิต 2. ต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตรูปทรงกลมกลวง เนื้อไม่หนา ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด  3. ต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกะเทย อันนี้จะให้ผลรูปทรงกระบอกเรียวยาว เนื้อหนา เป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี  บทความนี้ขออธิบายการสังเกตช่อดอกมะละกอให้ฟังพอคร่าวๆจากปร...

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ