ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

จริงหรือไม่? ที่เขาบอกว่าปลูกผักสวนครัวอย่าเช่นพริกมะเขือในสวนมะละกอไม่ไ...

จริงหรือไม่? ที่เขาบอกว่าปลูกผักสวนครัวอย่าเช่นพริกมะเขือในสวนมะละกอไม่ได้ ผมคิดว่าหลายคนก็มีข้อสงสัยและอยากรู้คำตอบเหมือนผมเมื่อสามปีก่อนเพราะเคยอ่านจากทฤษฎีมา ซึ่งจากข้อมูลที่ผมได้มาในทางทฤษฎีแล้วเขาบอกว่าไม่ควรปลูกพริกมะเขือหรือแม้กระทั่งผักสวนครัวอื่นๆในสวนมะละกอ หรือไม่ควรปลูกไว้ใกล้กับสวนมะละกอของเรา เพราะอาจส่งผลให้มะละกอของเราเกิดโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคไวรัสวงแหวนที่หลายคนหวั่นเกรงกัน เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้เมื่อสามปีก่อนผมได้ทำการพิสูจน์ด้วยการปลูกพริก ถั่วฝักยาว มะเขือหรือแม้กระทั่งพืชผักสวนครัวอื่นๆไว้ในสวนมะละกอฮอลแลนด์ที่ปลูกมานานกว่า 3 – 5 ปี ผลปรากฏว่าทุกอย่างก็สามารถอยู่รวมกันได้โดยไม่มีโรคแมลงรบกวนเลย เพราะความจริงแล้วพืชทุกชนิดเป็นของที่อยู่คู่กับธรรมชาติมานาน เขาสามารถอยู่ร่วมกันได้ อาจแย่งกันหาแสงนิดๆหน่อยทำให้ต้นสูงบ้างเป็นธรรมดา ปลูกและดูแลแบบธรรมชาติ ให้น้ำบ้าง บำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกบ้างเป็นบางครั้งไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ไม่ต้องไปดูแลอะไรมากมาย เพียงเท่านี้ก็รอเก็บเกี่ยวผลผลิตอันยาวนานได้เลยครับ.
โพสต์ล่าสุด

วิธีเพิ่มผลผลิตมะละกออย่างง่ายๆ แค่ตัดใบแก่ทิ้ง ทำสวนให้โล่งโปร่งแบบนี้เ...

   สำหรับเรื่องราวในวันนี้เรายังอยู่ในสวนมะละกอฮอลแลนด์ที่มีอายุเข้าปีที่สองหลังจากที่ผมได้ตัดต้นทำสาวเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (ตัดต้นทำสาววันที่ 15 เมษายน ปี 2020)    นอกจากการตัดต้นทำสาวจะทำให้ได้มะละกอที่ต้นเตี้ยลูกดกได้ผลผลิตเพิ่มแล้วยังมีวิธีเพิ่มผลผลิตมะละกออย่างง่ายๆที่เราสามารถทำได้อีกวิธีหนึ่งก็คือการแต่งใบมะละกอให้โล่งไม่ให้สวนทึบเกินไปคือพยายามตัดใบที่อยู่ด้านล่างออกบ้างให้แสงสามารถส่องผ่านถึงผลมะละกอ ส่องผ่านถึงโคนต้นมะละกอได้ เป็นการช่วยลดปัญหาเรื่องโรคแมลงต่างๆที่จะมารบกวนในช่วงติดดอกออกผลได้โดยเฉพาะเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง ที่มักจะมาทำลายผลดูกินน้ำเลี้ยงหรือทำลายขั้วผลมะละกอในสวนของเรา การแต่งใบมะละกอด้วยการตัดใบแก่ออก ไม่ให้สวนทึบเกินไปสามารถแก้ปัญหาพวกนี้ได้แถมยังได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ผลรูปทรงสวยขายได้ราคาดีด้วย ลองทำดูนะครับ.

...ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์สวนมะละกอปรับปรุงใหม่ล่าสุดปี 2020

     ระบบน้ำสวนมะละกอฮอลแลนด์ล่าสุด (ปี 2020) นี้ ผมได้ปรับปรุงใหม่เป็นระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ เพราะเป็นระบบที่ถือได้ว่าดีที่สุดสำหรับการปลูกมะละกอในเชิงการค้าหรือปลูกมะละกอในเชิงพาณิชย์การจะกระจายตัวของน้ำจะเป็นวงกว้างทั่วทรงพุ่มกระจายสู่รากฝอยของมะละกอได้ดี แถมยังเป็นละอองฝอยถึงส่วนยอดของมะละกอ สร้างความชุ่มชื้นทั่วบรรยากาศโดยรอบ โดยเฉพาะมะละกอที่อยู่ในช่วงกำลังติดดอกออกผล การให้น้ำหรือระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ให้เป็นละอองฝอยถึงส่วนยอดถือว่าจำเป็นมาก เพราะจำทำให้ขั้วดอกไม่ร่วงติดผลดกต่อเนื่องและถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี หากมีการวางระบบน้ำสปริงเกอร์แรงดันให้เป็นละอองฝอยแบบนี้รับรองมะละกอในสวนของเราจะติดดอกออกผลอย่างต่อเนื่อง ขั้วดอกเหนียวไม่หลุดร่วงง่าย และที่สำคัญจะมีผลผลิตให้ได้เก็บกินหรือจำหน่ายตลอดทั้งปีเลยทีเดียวครับ.

มะละกอหลังตัดต้นทำสาว เลือกกิ่งแบบไหนให้ติดลูกดก

     แนะนำวิธีการเลือกไว้กิ่งมะละกอหลังตัดต้นทำสาว ให้ติดลูกดกที่เห็นในบทความนี้จะเป็นมะละกอฮอลแลนด์ทั้งหมดที่ปลูกในสวนผมเอง  มะละกอฮอลแลนด์      ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามะละกอหลังปลูกได้สักระยะคือประมาณ 7-8 เดือนก็จะเริ่มให้ผลผลิต พอเก็บมะละกอจนหมดต้นหมดฤดูกาล ก็จะเป็นช่วงที่เรียกว่า “มะละกอหมดคอ หรือมะละกอขาดคอ” ก็ต้องรอเก็บรอบปีต่อไปจากต้นเดิม ซึ่งอาจทำให้ต้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จากผลผลิตที่ต่อเนื่องกันหลายปี เป็นอุปสรรคในการเก็บเพราะต้องใช้บันไดปีนเก็บ ที่สวนผมจึงมีการตัดต้นทำสาวทุกการเก็บเพียง 1 รอบ เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ ให้ได้มะละกอต้นเตี้ย ได้ต้นกะเทย หรือต้นสมบูรณ์เพศเหมือนเดิม และเป้าหมายหลักก็คือเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่ม โดยที่ไม่ต้องปลูกใหม่  มะละกอหลังตัดต้นทำสาว      การตัดต้นทำสาวมะละกอก็สามารถทำได้ง่ายๆเพียงเรากะระยะจากโคนต้น (ต้นที่จะตัดทำสาว) ขึ้นมาประมาณ 1 เมตร แล้วใช้มีดหรือเลื่อยตัดส่วนบนทิ้ง จากนั้นก็คลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อกันน้ำเข้าไปขังในลำต้น ไม่ให้กิ่งแขนงมะละกอที่แตกออกมาใหม่เกิดอาการใบเหลืองต้นโทรมนั่นเอง      ในช่วงที่ตัดต้นทำสาวก็จะไ

ชมสวนมะละกอหน้าแล้ง แห้งแต่ไม่เหี่ยว

    เรื่องราวเกษตรดีๆในวันนี้ ผมจะพาทุกท่านแวะชมสวนมะละกออีกแปลงที่ปลูกแบบหยอดเมล็ดลงดิน คือไม่ต้องเพาะใส่ถุงเพาะชำ หรือบางต้นก็แยกปลูกจากหลุมเพาะที่หยอดเมล็ดลงมากเกินไป     ที่เห็นในภาพด้านบนเป็นมะละกอฮอลแลนด์ที่ปลูกเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว อายุก็ประมาณ 11 เดือน พื้นที่ปลูกเป็นดินร่วนปนทราย ข้างห้วย ปลูกแบบง่ายๆคือขุดหลุมปลูกโดยไม่ได้รองพื้น ไม่ได้ไถ ไม่ได้ยกร่อง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความสูงต่างระดับเป็นคันนาเก่าขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง      เนื่องจากเป็นดินร่วนปนทรายจึงระบายน้ำได้ดีเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชทุกชนิดจะปลูกอะไรก็งาม และที่สำคัญพื้นที่ตรงนี้เมื่อขุดลงไปจะมีเศษไม้แห้งเศษใบไม้แห้งที่ถูกเผาไฟกลายเป็นถ่านใต้ดินที่ทับถมกันมานานหลายปี มะละกอแปลงนี้มีประมาณ 70 ต้น จัดแนวปลูกเว้นทางเดินนิดหน่อยพอได้เดินชมสวนเล่นๆ เป็นสวนเกษตรที่ปลอดสาร แต่ที่สังเกตได้ชัดก็คือมะละกอแปลงนี้จะให้ผลผลิตดกต่อเนื่องแทบไม่ขาดคอ เพราะปกติมะละกอแปลงอื่นจะขาดคอผลร่วงหมดเนื่องจากเป็นช่วงหน้าแล้ง แต่มะละกอแปลงนี้ยังติดผลต่อเนื่องเนื่องจากดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้ล

ปลูกมะละกอฮอลแลนด์อย่างง่ายๆ ไม่ต้องใส่ถุงเพาะ โตไว ให้ผลผลิตยาวนาน

    ในการปลูกมะละกอโดยส่วนใหญ่ที่นิยมกัน ก็มักจะนำเมล็ดมะละกอมาเพาะลงถุงเพาะชำก่อน จากนั้นก็อนุบาลให้มีใบจริงประมาณ 4 - 5 ใบแล้วค่อยปลูกลงแปลง อีกวิธีหนึ่งก็คือการนำเมล็ดมาเพาะลงแปลงปลูกได้เลย โดยไม่ต้องผ่านถุงเพาะชำ โดยส่วนตัวแล้ววิธีที่ 1 ผมมองว่าเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก จึงได้ทำการทดลองปลูกทั้ง 2 วิธีเพื่อหาข้อแตกต่างและหาข้อสรุปมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ครับ มะละกอฮอลแลนด์ - วิธีที่1 อย่างที่บอกไปก็คือนำเมล็ดมะละกอจากผลสุกสดมาล้างเยื่อหุ้มเมล็ดออก จากนั้นก็นำไปเพาะลงถุงเพาะชำ 4-5 เมล็ด/ถุง อนุบาลสักระยะประมาณ 1 เดือนคือให้มีใบจริงประมาณ 4-5 ใบหรือมากกว่านั้นค่อยนำไปปลูกลงแปลง - วิธีที่2 นำเมล็ดมะละกอจากผลสุกสดมาล้างเอาเยื่อหุ้มเมล็ดออกเหมือนวิธีที่ 1 แต่ไม่ได้เพาะลงถุงเพาะชำ คือจะเตรียมหลุมปลูกรองพื้นด้วยวัสดุหมักเหมือนเราปลูกต้นไม้ทั่วไป     ในการปลูกมะละกอทั้งสองวิธีที่ว่ามานี้ผลปรากฏว่ามะละกอที่ปลูกด้วยการหยอดเมล็ดลงดินแบบไม่ต้องใส่ถุงเพาะมีการเจริญเติบโตที่ไวกว่าที่อยู่ในถุงเพาะชำเสียอีกทั้งที่ใช้เวลาในการเพาะเท่ากันคือเพาะปลูกวันเดียวกัน แม้กระทั่งเพา

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน