ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2014

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

รักษาโรคด้วย “มะละกอ” “มะละกอ” นอกจากจะนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังสามารถนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน ( Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งยังนำไปทำเป็นยาช่วยย่อย สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้ และยังมีประโยชน์กับอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทความก่อนๆ แต่สำหรับบทความนี้ ขอแนะนำสรรพคุณทางยาที่มีอยู่ในมะละกอ ที่มีมากมาย จัดว่าเป็นอีกหนึ่ง สมุนไพร ไทยเลยก็ว่าได้ มีรายละเอียดดังนี้ครับ รักษาโรคด้วย "มะละกอ" สรรพคุณทางยาของมะละกอ - รากมะละกอ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา - เปลือกมะละกอ ใช้ทำน้ำยาขัดรองเท้าได้ - ผลสุกของมะละกอ มีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และใช้เป็นยาระบายได้ - ยางจากผลดิบ ใช้เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน และใช้เป็นยาฆ่าพยาธิได้ “มะละกอ” ใช้รักษาอาการต่างๆ ดังนี้ เป็นยาระบาย ให้ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้ของว่าง เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ให้ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัดปริมาณไปประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง หรือใช้เป

สารอาหารต่างๆในมะละกอ

รวมสารอาหารที่มีอยู่ใน “มะละกอ” ประโยชน์ของมะละกอ “มะละกอ” ที่เรานิยมปลูกกันโดยทั่วไป นอกจากจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังประกอบด้วยสารอาหารต่างๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น พอดีว่าผมมีปลูกไว้หลังบ้าน 4-5 ต้น พอได้อ่านเจอข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของ “มะละกอ” ก็เลยมีโครงการว่าจะทำสวน “มะละกอฮอนแลนด์” ไว้สักแปลง แต่ตอนนี้ขอรวบรวมข้อมูลและทดลองปลูกทีละน้อยก่อน และข้อมูลดีๆเกี่ยวกับมะละกอที่ว่านี้ อยู่ตรงหน้าผู้อ่านแล้วครับ ซึ่งข้อมูลที่ได้ จากการสำรวจและวัดปริมาณทางด้านคุณค่าทางโภชนาการของ “มะละกอ” พบว่า ในเนื้อมะละกอสุกปริมาณ 100 กรัม จะประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ดังนี้ - โปรตีน      0.5 กรัม - ไขมัน       0.1 กรัม - เหล็ก       0.6 มิลลิกรัม - แคลเซียม  24 มิลลิกรัม - ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม - โซเดียม      4 มิลลิกรัม - กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม - ไทอะมีน          0.04 มิลลิกรัม - ไนอะซิน               0.4 มิลลิกรัม - ไรโบฟลาวิน   0.04 มิลลิกรัม ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะครับ เพราะในยางมะละกอ ยังมีเอนไซม์อ

ปลูกมะละกอให้เป็นต้นสมบูรณ์เพศ (ต้นกระเทย) 99%

เทคนิคปลูกมะละกอให้เป็นต้นกระเทย ผลผลิตสูง ต้นกล้ามะละกอที่พร้อมปลูก การบังคับเพศมะละกอ ในวงการมะละกอก็เป็นที่รู้กันอยู่นะครับว่า ต้นมะละกอที่ให้ผลผลิตดี และเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด ก็คือมะละกอที่ออกจากต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่า ต้นกระเทยนั่นเองครับ  แต่เราจะปลูกอย่างไรให้ต้นมะละกอที่เราปลูกเป็นต้นสมบูรณ์เพศเกือบ 100 % มาดูวิธีกันครับ ก่อนอื่นให้นำต้นกล้ามะละกอที่เตรียมไว้เรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่นโดยเฉพาะรอบ ๆ ติดกับโคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่มการปลูกมะละกอเป็นการค้า แม้ว่าจะใช้เมล็ดจากผลมะละกอสมบูรณ์เพศ แต่เมล็ดที่ปลูกจะได้ต้นมะละกอสมบูรณ์เพศเพียง 66 เปอร์เซ็นต์ อีก 33 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้นเพศเมียซึ่งผลกลมตลาดให้ราคาถูก ถ้าอยากได้มะละกอผลยาวมากขึ้น ให้ปลูกต้นมะละกอให้มากต้นต่อหลุม และตัดต้นเพศเมียออกเมื่อออกดอกแล้ว จะได้ต้นสมบูรณ์เพศมากขึ้น แสดงจำนวนต้นต่อหลุมกับอัตราส่วนต้นเพศเมียและต้นสมบูรณ์เพศ - จำนวน 1

ยาง “มะละกอ” กำจัดหอยเชอร์รี่ได้

ยาง “มะละกอ” กำจัดหอยเชอร์รี่ได้ ยาง “มะละกอ” กำจัดหอยเชอร์รี่ได้ เมื่อสองปีที่แล้ว ตอนที่ผมกลับมาอยู่บ้าน มาทำเกษตรใหม่ๆ  เริ่มปลูกข้าวปีแรกๆ ก็เจอกับกองทัพหอยเชอร์รี่จำนวนมาก ซึ่งลักษณะการทำลายต้นข้าวของหอยเชอร์รี่ถือว่าไม่ธรรมดาครับ เพราะมันจะกัดกินต้นขาวที่กำลังอ่อนจนเกลี้ยงภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน แถมยังปีนขึ้นไปวางไข่บนต้นข้าวแพร่ขยายพันธุ์เตรียมลูกเตรียมหลานเอาไว้ทำลายต้นข้าวฤดูกาลต่อไปอีก เคยไปขอคำปรึกษากับหลายๆคนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้ใช้สารเคมีกัน ซึ่งผมเองยอมรับว่าไม่ชินและไม่ถนัดครับ ก็ต้องหาทางกำจัดด้วยแนวทางชีวภาพต่อไป เพราะผมเน้นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ซึ่งต่อมาไม่นานก็ได้พบวิธีการกำจัดหอยเชอร์รี่จากปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่ง ท่านบอกว่า “ในการกำจัดหอยเชอร์รี่ที่กัดกินต้นข้าว เพียงให้เราตัดเอาต้น “มะละกอ” ที่แก่แล้วฝานเป็นแว่นใหญ่ หรือไม่ก็ให้นำใบมะละกอไปแช่ลงในแปลงนาที่มีหอยเชอร์รี่อยู่ เพียงไม่กี่วันหอยเชอร์รี่ก็จะตาย หรือหนีไปทันที” บังเอิญว่าผมมีต้นมะละกอที่ปลูกไว้หลังบ้าน ซึ่งเป็นต้นแก่ต้องการจะตัดทิ้งพอดี ก็เลยลองทำตามดู โดยการตัดทั้งต้น แล้วฝานเป็นแว่นใ