ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สายพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกเพื่อการค้า

5 สายพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกเป็นการค้า

หากพูดถึงเรื่องมะละกอที่ปลูกในบ้านเรา ก็มีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ ทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์มะละกอที่คิดค้นดัดแปลงสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่จากนักวิชาการต่างๆ แต่หลักๆแล้ว “มะละกอ” ที่นิยมปลูกในเชิงธุรกิจหรือปลูกเพื่อการค้าก็มีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์มะละกอที่ตลาดมีความต้องการสูง เป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรทั่วไป ดังนี้

1. มะละกอพันธุ์แขกดำ นิยมปลูกกันมากในแทบทุกภาคของประเทศไทย เป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบสั้น ใบมีสีเขียว เนื้อในหนากว่ามะละกอพันธุ์อื่นๆ ผลยาวรี ขนาดผลมีส่วนหัวและท้ายของผลเกือบเท่ากัน ผิวขรุขระเล็กน้อย ผลสุกมีรสหวาน น้ำหนักผลประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัม มีเมล็ดน้อยช่องว่างภายในผลแคบ เหมาะที่จะทำส้มตำ

2. มะละกอพันธุ์โกโก้ เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์มะละกอพันธุ์ที่นำมาปลูกนานแล้ว ลำต้นเล็กๆ จะมีจุดประสีม่วง ลักษณะผล ส่วนปลายผลเล็กเรียว ส่วนหัวผลใกล้ขั้วมีลักษณะเป็นทรงกระบอกใหญ่ ผิวสีเขียว ผลค่อนข้างเรียบช่องระหว่างผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน ช่องว่างภายในผลกว้าง สุกแล้วเนื้อสีแดงหรือส้ม เป็นมะละกอที่เหมาะสำหรับบริโภคสุก

3. มะละกอพันธุ์ปากช่อง1 จัดว่าเป็นมะละกอสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่สถานที่วิจัยปากช่อง อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ได้ผสมขึ้น จากการนำเอามะละกอสายพันธุ์ซันไรส์ โซโล จากประเทศไต้หวันมาทำการปลูกและผสมพันธุ์ตัวเองอยู่ 5 ชั่วอายุ ได้เป็นมะละกอที่มีลักษณะต้นเตี้ย ให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 8 เดือน ติดผลค่อนข้างดกคือ ให้ผลประมาณ 30-40 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ผลลักษณะกลมขนาดเล็กเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอย่างมาก เนื้อกรอบสีส้มหนา ผลสุกจนมีผิวสีเหลืองทั้งผล และมีรสชาติหอมหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลค่อนข้างสูง แถมยังสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้นาน โดยที่มีรสหวานเหมือนเดิมและเนื้อก็ไม่เละด้วย นอกจากนี้ชาวสวนยังสามารถเพิ่มขนาดของผลให้ใหญ่ขึ้น คือให้มีน้ำหนักถึง 600 กรัมต่อผลได้ ถ้าหากตลาดต้องการ โดยการเด็ดช่อดอกด้านข้างออกเหลือเพียงดอกกลางไว้ ก็จะได้มะละกอผลที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ และก็มีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นพันธุ์มะละกอที่ค่อนข้างมีความต้านทานต่อโรคต่างๆได้ดี

4. มะละกอสายพันธุ์น้ำผึ้ง เป็นมะละกอที่มีผลค่อนข้างโต ผลด้านขั้วจะเล็กแล้วขยายโตขึ้นบริเวณใกล้ปลายผล เปลือกผลสีเขียว ผลสุกจะมีเนื้อสีส้มปนเหลืองหรือสีส้มเนื้อรสหวาน มีก้านใบสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่ามะละกอแขกดำแต่ใบจะบางกว่า และมีจำนวนแฉกของใบน้อยกว่ามะละกอแขกดำและมะละกอพันธุ์โกโก้

5. มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ เป็นสายพันธุ์มะละกอที่นิยมบริโภคและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผลดิบหรือผลสุก เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เป็นสายพันธุ์มะละกอที่ให้ผลผลิตสูงมาก คือหากเรามีการดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างดี จะได้ผลผลิตประมาณ 100 กิโลกรัม/ต้น เลยทีเดียวครับ และสุดท้าย “มะละกอฮอลแลนด์” ยังเป็นสายพันธุ์มะละกอที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรที่ทำสวนมะละกอในปัจจุบันได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าหากสวนไหนปลูกมะละกอฮอลแลนด์ไว้ รับรองไม่มีขาดทุน มีแต่กำไรล้วนๆครับ


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มะละกอใบเหลือง ต้นโทรม เกิดจากอะไร

    นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายท่านได้สอบกันเข้ามาในเรื่องของการปลูกมะละกอ โดยเฉพาะปัญหามะละกอใบเหลืองในระยะปลูกใหม่ หรือปลูกไปสักระยะเกิดอาการใบเหลือง ใบร่วง ต้นโทรม และตายในที่สุด ผมจึงรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จริงที่ทำสวนเกษตรผสมผสานโดยเฉพาะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ที่ผ่านมาก็ร่วม 4 ปี ก็พอมีความรู้บ้าง     ขอนำเรื่องราวดีๆมาเล่าให้ฟังพอเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่มะละกอเกิดอาการใบเหลืองหลักๆก็มีอยู่ 5 สาเหตุคือ 1. ขาดไนโตรเจน          ข้อนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่คนทำเกษตรต้องรู้เกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารหลักของพืชโดยเฉพาะ N-P-K เพราะถ้าพืชขาดธาตุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะแสดงอาการให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น ถ้าขาดธาตุ ไนโตรเจน ใบของพืชจะมีมีสีเขียวซีดแล้วจะค่อยๆเหลือง โดยจะสังเกตได้จากใบแก่ที่อยู่ด้านล่างของพืช ต้นจะแคระแกร็นและโตช้า ในกรณีพืชขาด ฟอสฟอรัส บนแผ่นใบจะมีสีม่วงแดงขอบใบจะใหม่และม้วนงอ ต้นพืชจะผอมสูงและโตช้า ส่วนในกรณีที่พืชขาด โพแทสเซียม   ลักษณะใบที่อยู่ด้านล่างจะมีจุดสีน้ำตาล ใบแห้งเป็นมันขอบใบม้วนงอ พืชจะโตช้าผลสุกเสมอไม่เท่ากัน อันน

การสังเกตมะละกอต้นใหน..? ต้นตัวผู้..ต้นตัวเมีย..หรือต้นกระเทย

เคล็ดลับสังเกตเพศมะละกอ ต้นมะละกอแบ่งออกเป็น 3 เพศ   คือ ต้นตัวผู้ ต้นตัวเมียและต้นสมบูรณ์เพศ หรือเรียกอีกอย่างว่ามะละกอต้นกระเทย โดยทั่วไปจะสังเกตเพศได้เมื่อต้นมะละกอ ออกดอกแล้วเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่จะบอกเพศมะละกอในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ หรือก่อนที่มะละกอออกดอกได้ *** เพศของดอกมะละกอมีตัวถ่ายทอดพันธุกรรม คือ ยีนส์เพียงคู่เดียวเป็นตัวควบคุม มีวิธีการสังเกตดังนี้ เพศมะละกอ 1. มะละกอต้นตัวผู้   มีช่อดอกยาวแตกแขนงเป็นสาย 70-120 เซนติเมตร ดอกบนช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีอวัยวะเพศเมียปรากฏอยู่แต่ไม่ทำหน้าที่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือครีมโคนกลีบเป็นหลอด ปลายกลีบแยกกัน 5 แฉก บริเวณโคนติดกัน กลีบที่แยกกันนั้นจะมีอับเกสรตัวผู้สีเหลือง 10 ชุด   ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส และช่วงแสงต่อวันน้อย รังไข่ของดอกมะละกอต้นตัวผู้อาจเจริญพัฒนาติดเป็นผล หลังจากรับการถ่ายละอองเกสรตัวผู้ได้ มะละกอต้นตัวผู้นี้ปกติไม่ให้ผลคุ้มค่าการลงทุน ควรทำการตัดทิ้ง ดอกมะละกอตัวผู้ 2. มะละกอต้นตัวเมีย   จะเป็นต้นตัวเมียที่แท้จริง โดยมีช่อดอกยาวปาน

วิธีตัดต้นมะละกอ หรือ "ทำสาวมะละกอ" ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก

พบกันอีกแล้วครับ..กับบทความเกษตรดีๆ รวมไปถึงเทคนิคเด็ด เคล็ดไม่ลับในการทำเกษตร ที่ผมนำมาฝากโดยเฉพาะสำหรับคนที่ปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือว่ากันในเชิงพาณิชย์นะครับ ทำสาวมะละกอ เรื่องราวที่ผมจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแล และยืดอายุมะละกอในสวนของเรา หรือเรียกง่ายๆก็คือการทำสาวมะละกอ ให้ได้ต้นเตี้ย ติดลูกดก มีวิธีง่ายๆดังนี้ครับ หลังจากเราเก็บผลผลิตมะละกอชุดแรกหรือคอแรกไปแล้ว (ต้นมะละกออายุประมาณ 1 หรือ 2  ปี) ให้เราตัดต้นทิ้ง 2 ส่วน เหลือไว้ส่วนเดียว (จากโคนต้นขึ้นมา) ในการตัดให้ตัดเฉียงด้วยเลื่อยหรือมีดคมๆ จากนั้นก็คลุมด้วยถุงหรือแก้วพลาสติกเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า เสร็จแล้วให้บำรุงต้นด้วยมูลสัตว์เก่า หรือปุ๋ยสูตร 46-0-0 ประมาณ 1 ช้อนแกง/ต้น เพื่อเร่งการแตกยอด สุดท้ายก็รดน้ำให้ชุ่่ม คลุมด้วยเศษฟางหรือใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นเป็นอันเสร็จครับ ทำสาวมะละกอ ต้นเตี้ย ลูกดก ด้วยวิธีง่ายๆเพียงเท่านี้  ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์แขนงข้างต้นก็จะเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่ที่พร้อมให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ในรุ่นต่อไปๆครับ